อาจารย์คณะวิศวฯ จุฬาฯ เตือนสูดดมธูปเทียนไหว้เจ้าช่วงเทศกาลตรุษจีน เสี่ยงเป็นมะเร็ง


เทศกาลตรุษจีน เป็นช่วงที่ชาวไทยเชื้อสายจีน จะได้ร่วมกัน ฉลองวันขึ้นปีใหม่ตามธรรมเนียมจีน ด้วยการตั้งโต๊ะนำอาหารคาวหวานไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว พร้อมกับเดินทางไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ และมอบคำอวยพรความหมายมงคลทั้งเรื่องสุขภาพและความร่ำรวย แต่สุขภาพของผู้คนที่ร่วมฉลองในเทศกาลตรุษจีน อาจจะไม่ได้สุขภาพดีตามที่หลายคนคาดหวัง เนื่องจากการได้รับควันจากธูป เทียน หรือการจุดประทัด ที่ส่งผลให้เกิดฝุ่นอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายอย่างที่คาดไม่ถึง

รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายการจัดการคุณภาพอากาศประเทศไทย ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่า ในช่วงนี้ประเทศไทย กำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤตฝุ่น PM 2.5 อยู่นั้น การจุดธูปเทียน และประทัด รวมถึง การเผากระดาษเงินกระดาษทองในช่วงเทศกาลตรุษจีนนี้เป็นส่วนเสริมให้เกิดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ แต่ที่น่ากังวลมากกว่านั้น คือผลกระทบด้านสุขภาพของผู้ที่จุดธูปเทียนไหว้บรรพบุรุษในช่วงเทศกาลตรุษจีนนี้ โดยเฉพาะผู้ที่จุดธูปเทียนไหว้บรรพบุรุษในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ย่อมได้รับผลกระทบโดยตรงเพราะจากข้อมูลตามหลักวิชาการพบว่าสัดส่วนการกระจายขนาดของอนุภาคที่เกิดจากควันธูปนั้น จำนวนอนุภาคร้อยละ 80 นั้นมีขนาดเล็กกว่า 0.1 ไมครอน

“ดังนั้นคงไม่ต้องจินตนาการเลยว่า ความเสี่ยงของการสูดดมมลพิษที่ปนอยู่ในควันธูปนั้นอันตรายร้ายแรงเกินกว่าที่เรายังสาละวนกับขนาดอนุภาค 2.5 ไมครอน สำหรับความเข้มข้นของอนุภาคขนาด 2.5 ไมครอน ที่พบจากการจุดธูปนั้น เพิ่มขึ้นสองถึง 10 เท่า ของฝุ่นที่มีอยู่แล้วตามอากาศ ขึ้นกับปัจจัยแวดล้อมของสถานที่ที่ทำการจุดธูป ทำให้ผู้ที่จุดธูปไหว้บรรพบุรุษอยู่ในขณะนั้นจะได้รับผลกระทบโดยตรง” รศ.ดร.ศิริมา  กล่าว

ที่สำคัญมลพิษจากควันธูปเทียน ประทัด และเผากระดาษเงินกระดาษทองในช่วงเทศกาลตรุษจีน เช่น เบนซีน บิวทาไดอีน เบนโซเอไพรีน ซึ่งอยู่ในกลุ่มของโพลีไซคลิกอะโรมาติกส์ไฮโดรคาร์บอน ที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ สารโลหะหนักที่พบในขี้เถ้าธูป และขี้เถ้ากระดาษเงินกระดาษทอง เช่น โครเมียม นิกเกิล ตะกั่ว แมงกานีส เหล่านี้ทำให้ผู้รับสัมผัสมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง

รศ. ดร.ศิริมา ได้ให้ข้อแนะนำว่าควรลดการจุดธูปเทียน หรือจุดธูปในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หรือใช้ธูปเทียนไฟฟ้า ใช้ธูปไร้ควัน หรือธูปขนาดสั้นเพื่อลดการเกิดควัน เพื่อลดความเสี่ยงกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสุขภาพของผู้จุด รวมถึงยังลดความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไฟไหม้ที่เกิดขึ้นจากการจุดธูปเทียนเหล่านี้ได้อีกด้วย และอย่าลืมว่าภายหลังการสัมผัสควันธูปควรล้างมือ ล้างหน้า และล้างตาให้สะอาด

 

 

เอกสารอ้างอิง

1. ศิริมา ปัญญาเมธีกุล ฐิตาพร ชิตจุ้ย และ ธวัช งามศรีตระกูล (2565) องค์ความรู้เรื่อง “มลพิษอากาศและความตระหนักรู้ของประชาชน” กรุงเทพฯ: เอ เอ เอ เซอร์วิส ISBN: 978-616-94015-0-6 https://drive.google.com/drive/folders/1hfG-32RcWD2KP5j3c2IWgKy08sWumdWb


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save