สอท.เผยดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ เดือนพ.ย.ฟื้น อานิสงส์จากท่องเที่ยว เร่งรัฐออกมาตรการกระตุ้นนักท่องเที่ยวช่วงไฮซีซั่น


เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึง ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565 ว่าอยู่ที่ระดับ 93.5 ปรับตัวเพิ่มเล็กน้อยจากระดับ 93.1 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบของค่าดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ คำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และผลประกอบการ ขณะที่ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับปริมาณการผลิต และต้นทุนประกอบการปรับตัวลดลง

เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

ปัจจัยสนับสนุนมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ การขยายตัวนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาสู่ภาวะปกติ ส่งผลดีต่อการบริโภคและการใช้จ่ายในประเทศ ขณะเดียวกันภาคการก่อสร้างมีทิศทางที่ดีขึ้นภายหลังสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลาย ส่งผลให้ความต้องการสินค้าวัสดุก่อสร้างเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ขณะที่ปัญหาขาดแคลนชิปมีทิศทางดีขึ้น ส่งผลดีต่อการผลิตสินค้ายานยนต์ และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ อัตราค่าระวางเรือที่ปรับลดลงส่งผลดีต่อผู้ส่งออก อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการยังมีความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนประกอบการที่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า ราคาวัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงาน รวมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกยังมีปัจจัยเสี่ยงจากอุปสงค์จากต่างประเทศลดลงจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว รวมทั้งจีนยังคงมาตรการ Zero-COVID อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการแข็งค่าของเงินบาท ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของผู้ส่งออกลดลง

จากการสำรวจผู้ประกอบการ 1,315 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในเดือนพฤศจิกายน 2565 พบว่า ปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ เศรษฐกิจโลก ร้อยละ 70.3 สถานการณ์การเมืองในประเทศ  ร้อยละ 43.5 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 43.3 อัตราแลกเปลี่ยน (มุมมองผู้ส่งออก) โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ 42.9 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความกังวลลดลง ได้แก่ ราคาน้ำมัน ร้อยละ 59.2 เศรษฐกิจในประเทศ ร้อยละ 39.4 ตามลำดับ

สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 97.0 ปรับตัวลดลงจาก 98.8 ในเดือนตุลาคม เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นของต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะราคาพลังงานที่ยังทรงตัวในระดับสูง รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ขณะที่สงครามรัสเซีย-ยูเครนยังคงยืดเยื้อ เศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอน รวมถึงความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ยังส่งปัจจัยเสี่ยงต่อภาคการส่งออกของไทย

 ส่วนข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ประกอบด้วย 3 มาตรการ ดังนี้

  • มาตรการดูแลต้นทุนการผลิตให้ผู้ประกอบการ อาทิ ชะลอการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าให้ไม่เกิน 4.72 บาท ต่อหน่วย เป็นต้น
  • ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีการลงทุนใช้พลังงานหมุนเวียนภายในโรงงาน เพื่อลดค่าไฟฟ้าในช่วง On Peak อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การอำนวยความสะดวกในการขออนุญาตต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการติดตั้งโซล่าเซลล์, ปรับปรุงกฎหมายให้โรงงานสามารถติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 1 MW โดยไม่ต้องขอใบอนุญาต รง.4, มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น
  • ออกมาตรการส่งเสริม Soft power เพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมีการใช้สินค้าและบริการของไทย เพื่อช่วยขยายโอกาสสินค้าไทยในตลาดโลกผ่านการท่องเที่ยว โดยคาดว่าช่วง High Season จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านคนต่อเดือน และในปี 2566 คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเติบโตมาอยู่ในระดับ 21 ล้านคน

ทั้งนี้ ส.อ.ท. ได้ทำการรวบรวมข้อมูลผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม และข้อมูลตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมจากหน่วยงานต่างๆ ย้อนหลัง 3 ปี จัดทำเป็น Dashboard เผยแพร่ในเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม Industry Data Space (iDS) ของ ส.อ.ท. เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ โดยสามารถเข้าไปใช้บริการข้อมูลดังกล่าวได้ที่ www.fti.or.th/ids


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save