สวทช. ผนึก กฟผ. เปิดตัวศูนย์ทดสอบอุปกรณ์อัดประจุรถยนต์ไฟฟ้ากำลังสูง 150 kW เปิดให้บริการ 15 ก.ค.นี้


สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ PTEC ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดศูนย์ทดสอบอุปกรณ์อัดประจุรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) กำลังสูง 150 กิโลวัตต์ (150 kW) ตามมาตรฐาน IEC61851 เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ทดสอบ สอบเทียบตรวจสอบและรองรับผู้ประกอบการหัวชาร์จไฟฟ้าในไทย ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อจำหน่ายในประเทศไทย ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในระบบขนส่งสาธารณะและรองรับนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภค โดยจะเปิดให้บริการทดสอบ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2565

ดร.ไกรสร อัญชลีวรพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า จากนโยบายภาครัฐที่ต้องการให้ประเทศไทยยังคงเป็นฐานในการผลิตยานยนต์แบบเดิมและยานยนต์ไฟฟ้าของโลกนั้น หลายหน่วยงานได้ระดมสรรพกำลัง ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ทั้งการผลิตแบตเตอรี่ การประกอบยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ และการนำยานยนต์ไฟฟ้าไปใช้ขนส่งในระบบสาธารณะ PTEC เห็นถึงวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นของ กฟผ. ในการสร้างระบบนิเวศน์ยานยนต์ไฟฟ้า (EV Ecosystem) จึงได้ร่วมมือกันพัฒนา Labทดสอบศูนย์ทดสอบอุปกรณ์อัดประจุรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) กำลังสูง 150 กิโลวัตต์ (150 kW) ตามมาตรฐาน IEC61851 ขึ้น ณ ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี โดยเน้นไปที่การทดสอบหัวชาร์จไฟฟ้าแบบกระแสตรงขนาดใหญ่ 150 กิโลวัตต์ รองรับการใช้งานยานยนต์ที่มีขนาดใหญ่ สำหรับการใช้งานของรถโดยสารสาธารณะไฟฟ้า หัวรถลากไฟฟ้า และเรือเฟอร์รีทุกรูปแบบ เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ทดสอบ สอบเทียบตรวจสอบและรองรับผู้ประกอบการหัวชาร์จไฟฟ้าในไทย ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หวังลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการในการส่งหัวชาร์จไปรับรองมาตรฐานที่ต่างประเทศ ลดต้นทุนในการผลิต ลดระยะเวลาในการพัฒนา ทำให้ให้ราคาของหัวชาร์จไฟฟ้าไม่สูงมาก สามารถแข่งขันในตลาดได้

นอกจากนี้ สวทช. โดย PTEC ยังให้บริการทดสอบชิ้นส่วนสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้าตามมาตรฐานสากลอีกหลายชนิด ทั้งเซลล์แบตเตอรี่ลิเธียม โมดูลแบตเตอรี่ของมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า แบตเตอรี่แพ็กของยานยนต์ไฟฟ้า การทดสอบประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าของมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเบอร์ 5 การทดสอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์ชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงการทดสอบความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า(EV) สำหรับยานยนต์ทั้งคัน PTEC และ กฟผ. พร้อมสนับสนุน EV Ecosystem ของประเทศไทยให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืนต่อไป

ในอนาคตมีโอกาสที่จะขยายสาขาศูนย์ทดสอบไปยังพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่ทำการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อทำการทดสอบยานยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่และที่ชาร์จไฟฟ้ายานยนต์ทั้งคันเพื่อรับรองมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล รวมทั้งทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทอรนิกส์ที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้ประกอบการในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น สร้างความมั่นคง ปลอดภัยให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น 

      สำหรับราคาในการทดสอบนั้นจะคิดตามความเหมาะสมและระยะเวลาในการทดสอบนั้นประมาณ 1 เดือนสำหรับหัวชาร์จที่มีขนาดใหญ่และกำลังไฟฟ้าสูง ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆจะใช้เวลาลดลงตามขนาดของอุปกรณ์การทดสอบ แบตเตอรี่และอื่นๆ

วฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการ Project Management Office การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีศูนย์ทดสอบยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานในระดับสากล หากหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและผู้ประกอบการที่ผลิตอุปกรณ์ยานยนต์ไฟฟ้า อุปกรณ์ชาร์จไฟฟ้าและอื่นๆทำการผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้นต้องส่งไปทดสอบยังศูนย์ทดสอบในต่างประเทศ ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก  กฟผ.จึงได้จับมือกับสวทช. ซึ่งมีความรู้ความสามารถในการเชี่ยวชาญในการทดสอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่แล้วสร้างศูนย์ทดสอบแห่งนี้ขึ้น ซึ่งทั้ง กฟผ.และ สวทช. มีเป้าหมายเดียวกันได้ร่วมมือขับเคลื่อนอนาคตยานยนต์ไฟฟ้าไทย ในการสร้างบรรทัดฐานด้านความปลอดภัยของระบบชาร์จสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานโดยสารสาธารณะ ทั้งยานยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนและในแม่น้ำให้ได้ระดับมาตรฐานสากล           

        สถานีชาร์จจัดเป็นองค์ประกอบหลักของ EV Ecosystem นอกจากต้องมีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม ปลอดภัย ครอบคลุมพื้นที่การเดินทางแล้ว ต้องได้มาตรฐานในระดับสากลด้วย ซึ่งศูนย์ทดสอบแห่งนี้มีมาตรฐานการตรวจสอบระบบชาร์จสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าและ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ครบวงจร จากเดิมที่สามารถทดสอบได้เพียง 60 กิโลวัตต์ ขยายการทดสอบเพิ่มเป็น 150 กิโลวัตต์ เพื่อให้ผู้สนใจผลิตหัวชาร์จไฟฟ้าสามารถนำมาทดสอบเพื่อให้ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาองค์ความรู้การทดสอบเครื่องอัดประจุไฟฟ้าในประเทศไทยด้วย โดยจะเปิดให้บริการทดสอบ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 นี้ ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถติดต่อเข้ามาขอรับการตรวจสอบได้จากทั้งหน่วยงาน กฟผ. และ สวทช.

วฤต กล่าวถึงการขยายศูนย์ทดสอบอุปกรณ์อัดประจุรถยนต์ไฟฟ้ากำลังสูงว่า ในอนาคตมีแผนจะขยายให้ครอบคลุมการใช้ทดสอบยังจังหวัดต่างๆเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เช่น ในพื้นที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่มีศูนย์การผลิตยานยนต์ทั้งผู้ประกอบการยานยนต์ไทยและต่างชาติ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save