สวทช. จับมือทีเซลส์พัฒนานวัตกรรมและงานวิจัยทางการแพทย์ ใช้ประโยชน์จริงในเชิงพาณิชย์ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ


สวทช. จับมือทีเซลส์พัฒนานวัตกรรมและงานวิจัยทางการแพทย์ ใช้ประโยชน์จริงในเชิงพาณิชย์ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “ด้านการเพิ่มศักยภาพการพัฒนานวัตกรรมและงานวิจัยทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย” กับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ทีเซลส์) เพื่อพัฒนาส่งเสริมและขับเคลื่อนให้เกิดงานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ให้นำไปต่อยอดใช้ได้จริงในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ยาและเครื่องมือทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ช่วยรักษาโรคที่มีอยู่เดิมและอุบัติใหม่ในประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. มีผู้เชี่ยวชาญ, มีนักวิจัย และมีงานวิจัยด้าน การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์มากมาย ภายใต้ศูนย์วิจัยหลัก 4 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค), ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค), ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และยังมีการวิจัยและคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์สมัยใหม่รองรับโรคดังเดิมที่มีอยู่และอุบัติใหม่ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยและต่างประเทศอีกหลากหลายงานวิจัยเกี่ยวข้องร่วมกันพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อให้ประเทศไทยเป็น Hub ทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน

สำหรับความร่วมมือ “ด้านการเพิ่มศักยภาพการพัฒนานวัตกรรมและงานวิจัยทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย” ระหว่าง สวทช. กับ ทีเซลส์ ในครั้งนี้ เพื่อบูรณาการในการเพิ่มศักยภาพการพัฒนานวัตกรรมและงานวิจัยการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทยพร้อมต่อยอดนำไปใช้จริงในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ยาและเครื่องมือแพทย์ในการตอบโจทย์โรคที่มีอยู่เดิมและโรคอุบัติใหม่ๆที่กำลังเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสทางการเข้าถึงเวชภัณฑ์ยาและเครื่องมือที่ทันสมัยเทียบเคียงกับต่างประเทศในราคาที่ไม่สูงมากนัก เช่น ยานวัตกรรม (Modified Drug) ยาสามัญที่ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น ยามะเร็ง, ยาชีววัตถุ, ยาสมุนไพร, เครื่องมือ ซอฟต์แวร์ทางการแพทย์, การแพทย์แม่นยำ, เครื่องสำอาง, อาหารฟังก์ชั่น, อาหารมีวัตถุประสงค์พิเศษ และอื่น รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแพทย์ พร้อมทั้งผลักดันการทดสอบเครื่องมือแพทย์และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ซึ่งการพัฒนากระบวนการวิจัยและพัฒนานี้ จะเสริมความเข้มแข็งของการวิจัยขั้นสูงทางด้านการแพทย์ และผลักดันการพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อนำไปสู่ธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ๆ ในประเทศ เพื่อสุขภาพคนไทยโดยคนไทย รวมถึงเพิ่มโอกาสพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทย และ Startup ทางการแพทย์ของไทยให้มีโอกาสในการแข่งขันทางการค้าในระดับสากลต่อไปได้

ในระยะแรกของความร่วมมือจะเร่งผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีการพัฒนายาเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยาไทยในรูปแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่เรียกว่า Technology Based Medicine โดยมีเป้าหมายสนับสนุนผู้ประกอบให้พัฒนายาที่มีมูลค่าสูง ที่ประเทศไทยต้องนำเข้ามาใช้ในประเทศและมีราคาแพงโดยเฉพาะในสถานการณ์ COVID-19 ที่ยาหลายชนิดค่อนข้างแคลน อีกทั้งอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่นำเข้ามานั้นไม่สามารถที่จะนำเข้ามาใช้ให้เพียงพอต่อความต้องการของแพทย์ที่ต้องใช้ในการทำการรักษาและผู้ป่วยที่รอรับการรักษา เช่น หน้ากากอนามัย N95 และเครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น โดยมีผู้เชี่ยวชาญร่วมกันวิจัยและพัฒนาให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด

ดร.นเรศ ดำรงชัย

ด้าน ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ทีเซลส์) กล่าวว่า ทีเซลส์ มีการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพการพัฒนานวัตกรรมและงานวิจัยทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย เช่น การพัฒนายาสามัญที่ใช้เทคโนโลยีสูงหรือยานวัตกรรม (Modified Drug) ช่วยให้มียาที่ออกฤทธิ์ที่ดี ช่วยให้ผู้ป่วยไม่เกิดอาการแพ้ และสามารถรับยาทางการซึมเข้าผิวหนังแทนการรับประทานหรือฉีดยา เป็นต้น โดยร่วมมือกับ KPBMA (The Korea Pharmaceutical and Bio-Pharma Manufacturers Association-สมาคมผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์และชีววัตถุเกาหลี) ประเทศเกาหลี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ประเทศไทยสามารถผลิตยาสามัญ (generic drug) ที่ต้องใช้กระบวนการผลิตและเทคโนโลยีขั้นสูงได้เอง ซึ่งจะทำให้ราคายาที่ขายในประเทศไทยถูกลง ลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และผู้ป่วยคนไทยเข้าถึงการรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น, มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ National Quality Infrastructure (NQI) และ โครงการส่งเสริมการ Upskill-Reskill ด้านการทดสอบและการตรวจรับรองมาตรฐาน เพื่อสนับสนุนการสร้าง Ecosystem ขึ้นในประเทศ สำหรับการรับรองตามมาตรฐานในห่วงโซ่คุณค่าการพัฒนาและผลิตเครื่องมือแพทย์อย่างยั่งยืน ช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่หน่วยต่างๆ ในห่วงโซ่มูลค่าเครื่องมือแพทย์ เช่น ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาในภาคเอกชน, ผู้ให้บริการทดสอบและตรวจสอบ, ผู้ประกอบการ SME ด้านเครื่องมือแพทย์และStartup ทางการแพทย์ของไทย เป็นต้น และร่วมมือในการสนับสนุนทุนวิจัย เพื่อพัฒนาวัตถุดิบเครื่องสำอางแก่ผู้ประกอบการ ให้ประเทศไทยมีวัตถุดิบที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน และพัฒนาความรู้ผู้ประกอบการในการสร้างแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Design Thinking) และ Coaching การออกแบบงานวิจัยให้ความรู้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและเงื่อนไขการส่งออก ที่เกี่ยวข้องกับอาหารฟังก์ชั่นและเส้นทางสู่เชิงพาณิชย์ตามมาตรฐานในการที่จะใช้ทดสอบ ต่อยอดงานวิจัยที่ดีที่มีอยู่เดิมเพื่อให้เกิดการยอมรับในระดับสากลในอนาคตมากขึ้น

“สำหรับการร่วมลงนามความร่วมมือด้วยกันครั้งนี้ มุ่งหวังที่จะตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมอุตสาหกรรมทางการแพทย์และสุขภาพที่เข้มแข็งอย่างเป็นรูปธรรมร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อน Bioeconomy Circular economy, และ Green economy (BCG) ที่มีเรื่องระบบสุขภาพไทย เครื่องมือทางการแพทย์ให้มีการเชื่อมโยงการพัฒนาด้วยนวัตกรรมในระดับที่สูงขึ้นเพื่อยกระดับนวัตกรรมการบริการทางการแพทย์และสุขภาพ 8 ด้าน ได้แก่ 1.Personalized Medicine, 2.Vaccines and New Medicines, 3.Medical Devices, 4.Telemedicine, 5. Clinical Research Infrastructure, 6.Herbal and Traditional Medicine, 7.Nutraceuticals และ 8.Medical Tourism” ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ทีเซลส์) กล่าว


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save