สภาวิศวกร รุดยื่นเสนอความช่วยเหลือ 2 ด้าน เหตุ “ไฟไหม้ ม.กฤษฎานคร 31”พร้อมเปิด “คอร์สอบรมงานกู้ภัย” ลดเสี่ยงอันตราย หวั่นเกิดเหตุซ้ำรอย !


  • สภาวิศวกร แนะปลูกฝังวินัยพื้นฐานเด็กไทย ‘ด้านภัยพิบัติ’ รุดช่วยเหลือตนเอง และ ผู้อื่น รอดพ้นวิกฤต !

กรุงเทพฯ 5 เมษายน 2564 – สภาวิศวกร รุดยื่นข้อเสนอ 2 ด้านหลังเกิดเหตุ “ไฟไหม้ ม.กฤษฎานคร 31” กระทบความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ลดเสี่ยงเกิดเหตุซ้ำรอย ดังนี้ ถอดบทเรียนจริงจัง โดยที่ภาครัฐ ต้องสาเหตุของปัญหาให้แน่ชัด ภาคการศึกษา ต้องยกกรณีศึกษาเป็นสื่อการสอนนักศึกษา และภาคประชาชน ที่ต้องปลูกฝังวินัยเด็กไทยด้านวิบัติภัย หมั่นสังเกตรอยแตกร้าวของอาคาร และฝึกรับมือเหตุการณ์ ใช้บิ๊กดาต้าวางแผนกู้ภัย เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถวางแผนการทำงานหรือประเมินสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว-ปลอดภัย ทั้งนี้ หลักการตรวจสอบตามหลักนิติวิศวกรรมระดับสากล มี 4 ขั้นตอน คือ การออกแบบถูกต้องหรือไม่ ก่อสร้างตามแบบหรือไม่ การใช้งานถูกประเภทหรือไม่ มีแรงกระตุ้นอย่างไร

ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร เปิดเผยว่า จากกรณีไฟไหม้บ้านหรู ในหมู่บ้านกฤษฎานคร 31 เขตทวีวัฒนา ที่ได้สร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยสูญเสียฮีโร่นักผจญเพลิงจากหน่วยงานอาสาในพื้นที่ เป็นจำนวนถึง 4 ราย และผู้อาศัยอยู่ในบ้านอีก 1 ราย โดยเหตุการณ์ดังกล่าว สามารถตั้งข้อสังเกตได้ใน 2 ประเด็นดังนี้ (1) ทำไมถึงอาคารถึงถล่มลงเร็ว กรณีโครงสร้างอาคารก่อสร้างไม่ตรงแบบ หรือมีการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง และ (2) ทำไมถึงสูญเสียเจ้าหน้าที่ในเหตุการณ์ ซึ่งอาจจะเกิดจากข้อจำกัดด้านข้อมูลโครงสร้างหรือแบบแปลนของอาคาร ที่ไม่ได้จัดเก็บไว้เป็น บิ๊กเดต้า (Big Data) เพื่ออำนวยความแก่เจ้าหน้าที่ในการเข้าถึงข้อมูลได้ทันที สภาวิศวกร ในฐานะหน่วยงานที่พร้อมให้บริการด้านวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรม และกำกับดูแลมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม จึงพร้อมให้การช่วยเหลือผ่านข้อเสนอใน 2 ด้านสำคัญ เพื่อลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้

  • ถอดบทเรียนอย่างจริงจัง แนะหน่วยงานทุกภาคส่วนร่วมถอดบทเรียนอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม ทั้ง ภาครัฐ ที่ต้องหาเหตุของปัญหาให้แน่ชัด เพื่อเป็นแนวทางป้องกันในอนาคตและมิปล่อยให้เกิดการผู้สูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ ภาคการศึกษา ต้องหยิบยกเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย มาเป็นกรณีศึกษาให้กับนักศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อเป็นกรอบการเรียนรู้และแก้ปัญหาตามหลักการเมื่อเกิดปัญหาจริง ภาคประชาชน ที่ต้องปลูกฝังวินัยเด็กไทยด้านวิบัติภัยและความปลอดภัย (Safety First) สร้างการตระหนักรู้ถึงความไม่แน่นอน หมั่นสังเกตรอยแตกร้าวของอาคาร คอนกรีตร่อนจนเห็นเหล็กด้านใน ตลอดจนฝึกรับมือเหตุการณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่วัยเด็ก ทั้งในบริบทของผู้ประสบภัยและผู้กู้ภัย เพื่อลดการสูญเสียในอนาคต
  • แนะใช้บิ๊กดาต้าช่วยวางแผนกู้ภัย เพราะจากข้อจำกัดด้านการเข้าถึงโครงสร้างอาคาร ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนการทำงานหรือประเมินสถานการณ์ได้ยาก ซึ่งเสี่ยงต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง โดยเฉพาะอาคารทั่วกรุงฯ ที่มีอายุมากกว่า 20 ปีจำนวนมาก จึงควรเร่งเก็บเป็นบิ๊กดาต้า (Big Data) พร้อมกำหนดเฉดสีใน 4 ระดับ เพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้ สีเขียว กรณีมีแบบแปลนชัดเจน และไม่มีการต่อเติมหรือดัดแปลง สีเหลือง มีแบบแปลนชัดเจนแต่มีการต่อเติมเพิ่ม สีส้ม ไม่พบแบบแปลน แถมเป็นอาคารเก่า และ สีแดง ไม่พบแบบแปลน เป็นอาคารเก่า และพบรอยแตกร้าวบาดลึกจำนวนมาก สภาวิศวกร ยินดีจัดอบรมให้มีมาตรฐาน / สนับสนุนงานกู้ภัยในอนาคต

นอกจากนี้ สภาวิศวกร มีความยินดีที่จะสนับสนุนงานกู้ภัยทุกประเภทแก่หน่วยงานที่สนใจ เพื่อรองรับกับวิบัติภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ดี สำหรับหลักการตรวจสอบตาม “หลักนิติวิศวกรรม” หรือการพิสูจน์เหตุด้วยวิศวกรรม ในระดับสากล มี 4 ขั้นตอนดังนี้ 1. การออกแบบถูกต้องหรือไม่ จากการคำนวณเชิงโครงสร้าง การวัดระยะห่างหรือองศาต่าง ๆ 2. ก่อสร้างตามแบบหรือไม่ กรณีที่มีการลดคุณภาพวัสดุก่อสร้าง ที่อาจจะกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร 3. การใช้งานถูกประเภทหรือไม่ ในกรณีที่ระบุในคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร จากที่พักอาศัยแต่เป็นโรงงาน ที่อาจจะมีการติดตั้งเครื่องจักรหรือถังน้ำขนาดใหญ่ด้านบน จึงเสี่ยงต่อการเกิดอาคารทรุดตัว และ 4. มีแรงกระตุ้นอย่างไร ภัยพิบัติจากธรรมชาติ เช่น ฝนตก น้ำท่วม หรือแผ่นดินไหว หรือกระทั่งอัคคีภัยภายในบ้าน ล้วนเป็นปัจจัยเร่งให้โครงสร้างอาคารเกิดความเสียหายเร็วขึ้น โดยในกรณีนี้พบว่า ไฟลุกไหม้ได้ระยะหนึ่ง เสาบ้านบริเวณด้านขวาเกิดระเบิด ทำให้อาคารคอนกรีตชั้นบนที่ได้รับสะสมความร้อนไว้ พังถล่มลงมาทันที ซึ่งการติดตั้งสัญญาณเตือนภัย (Smoke Detector) พร้อมฉีดน้ำ จะช่วยลดความร้อนได้ในระดับหนึ่ง

ทั้งนี้ กรณีพบเห็นอาคารพาณิชย์ หรือโครงสร้างอาคารสาธารณะที่ไม่ปลอดภัย สามารถแจ้งได้ที่ ‘สำนักงานเขตในท้องที่’ หรือขอคำปรึกษาด้านงานวิศวกรรมได้ที่ สายด่วนสภาวิศวกร 1303 ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวของสภาวิศวกรได้ทุกช่องทางที่ ไลน์ไอดี @coethai เฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/coethailand เว็บไซต์ www.coe.or.th และยูทูบแชลแนล “COE Thailand”


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save