สผ. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จัดประชุมนำเสนอร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จัดประชุมสัมมนาเพื่อนำเสนอร่างรายงานสถานการณ ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2562 และรับฟังความคิดเห็นรวมทั้งข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยจะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนที่ได้จากการประชุมสัมมนาฯไปปรับปรุงร่างรายงานดังกล่าวให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีต่อไป

สผ. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จัดประชุมนำเสนอร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562

พุฒิพงศ์ สุรพฤกษ์ รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กล่าวว่า สผ. ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จัดทำร่างรายงานสถานการณ์ตุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 โดยการกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการจัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติตามมาตรา 13 (13) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ที่กำหนดให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเสนอรายงานสถานการณ์คุณภาพ สิ่งแวดล้อมของประเทศต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการจัดทำ นโยบายและการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภาพรวมของประเทศ รวมทั้ง สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่ทุกภาคส่วน

สำหรับรายละเอียดและสาระสำคัญของร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 เป็นการเสนอข้อมูลสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมในช่วง พ.ศ. 2562 ซึ่งพบว่า สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งในทางที่ดีขึ้น คงที่และสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง โดยสถานการณ์ที่ดีขึ้น เช่น มีพื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพการใช้พลังงานดีขึ้น มีการใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น สัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อคนในกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น จำนวนชุมชนแออัด ในกรุงเทพมหานครลดลง และคุณภาพน้ำผิวดิน ณ จุดตรวจวัดดีขึ้น เป็นต้น ในส่วนของสถานการณ์คงที่่เช่น อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของประเทศไทย และปริมาณน้ำท่าในประเทศไทยทั้ง 25 ลุ่มน้ำ เป็นต้น ขณะเดียวกัน มีประเด็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง เช่น ฝุ่นละออง PM2.5 ยังคงเกินค่ามาตรฐานในเขตเมืองที่มีการจราจรหนาแน่นและพื้นที่อุตสาหกรรม บางพื้นที่ปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น และขยะพลาสติกยังคงมีสัดส่วนมากที่สุดในขยะทะเล เป็นต้น

พุฒิพงศ์ สุรพฤกษ์

นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่สำคัญและเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ ใน พ.ศ. 2562 จำนวน 4 ประเด็น ได้แก่ 1.ฝุ่นละออง PM2.5 2.ขยะพลาสติก 3.ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และ 4.การกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

ดังนั้นคณะผู้ทำการศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ ประกอบด้วย 3 มาตรการระยะสั้น ได้แก่ 1.การแก้ไขสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง เช่น ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ขยะมูลฝอยชุมชน และความเสื่อมโทรมของดิน 2.การพัฒนาระบบข้อมูลสิ่งแวดล้อม และ 3.สร้างความเข้าใจและส่งเสริมการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และ 5 มาตรการระยะยาว ได้แก่ มาตรการแรก การปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาตรการที่2. การส่งเสริมระบบการ จัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาตรการที่3.การศึกษาและพัฒนาระบบการอนุญาตปล่อยมลพิษ มาตรการที่ 4.การส่งเสริมระบบ เศรษฐกิจหมุนเวียน และมาตรการที่ 5.การพัฒนาความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ

ทั้งนี้จะมีการนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆที่ได้จากการประชุมสัมมนาฯนี้ ไปปรับปรุงร่างรายงานดังกล่าวให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีต่อไป


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save