สกสว. เชิดชู 13 ผลงานเด่น สร้างผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่“งานวิจัยเพื่ออนาคต”


สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เดิมชื่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)จัดงานมอบรางวัลผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2561 เชิดชูเกียรตินักวิจัยที่ผลิตผลงานสามารถนำไปใช้ประโยชน์และเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสิ้น 13 ผลงาน ครอบคลุม 5 ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบาย ด้านสาธารณะ ด้านพาณิชย์ ด้านชุมชนและพื้นที่ และด้านวิชาการ พร้อมยกเครื่ององค์กรขนานใหญ่ ดูแลภาพรวมระบบ และเชื่อมโยงงานวิจัย วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมของประเทศ

สกสว. เชิดชู 13 ผลงานเด่น สร้างผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่“งานวิจัยเพื่ออนาคต”

กรุงเทพฯ – 26 มิถุนายน 2562 : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เดิมชื่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดงานมอบโล่เกียรติยศผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2561 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ราชประสงค์ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติแก่นักวิจัยและผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ สร้างผลประโยชน์และก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและการพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยได้รับเกียรติจาก ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีและมอบรางวัล พร้อมด้วย ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และคณะผู้บริหาร รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ณ ห้องบอลรูม โรงแรมอินเตอร์ คอนติเนนตัล

ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร

ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า สกว.ชื่อเดิมของสสกว. มีบทบาทในการสนับสนุนทุนวิจัยให้ครอบคลุมทุกศาสตร์ มีการบริหารจัดการงานวิจัยอย่างเป็นระบบ มุ่งเน้นการผลักดันผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทุกมิติ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยให้มีคุณภาพในระดับสากล ทุกภารกิจที่ สกว. ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการสร้างรากฐานที่สำคัญให้แก่ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของไทย ซึ่งแต่ละปี สกว. มีผลงานวิจัยจำนวนมากที่ล้วนมีคุณค่า และแม้ว่าขณะนี้ สกว. ได้เปลี่ยนบทบาทเป็น สกสว. ที่มีภารกิจหลักในการจัดทำและกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ตลอดจนจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) แต่การจัดพิธีมอบรางวัลผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2561 ยังคงดำเนินอยู่ เพื่อให้ประชาคมวิจัยและสาธารณะเห็นต้นแบบการทำงานวิจัยที่สามารถส่งมอบประโยชน์แก่สังคม รวมทั้งเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรตินักวิจัย สกว. ที่ผลิตผลงานได้อย่างมีคุณภาพและเป็นส่วนช่วยขับเคลื่อนสังคมไทยตลอดมา

ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ

แบ่งกลุ่มพิจารณาตามลักษณะการใช้ประโยชน์ 5 ด้าน รวมทั้งสิ้น 13 ผลงาน

สำหรับเกณฑ์ในการคัดเลือกผลงานวิจัยเด่นปีนี้ คือ ต้องเป็นผลงานวิจัยที่ประสบผลสําเร็จ มีผู้ใช้ประโยชน์ และปรากฏผลเป็นที่ประจักษ์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 สามารถสร่างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในวงการที่เกี่ยวข้อง หรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคม นําไปสู่การพัฒนาในวงกว้าง อีกทั้งต้องมีวิธีการวิจัยเป็นที่ยอมรับตามหลักวิชาการ โดยแบ่งกลุ่มพิจารณาตามลักษณะการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ 5 ด้าน รวมทั้งสิ้น 13 ผลงาน ประกอบด้วย

ด้านนโยบาย จํานวน 1 ผลงาน ได้แก่ “อนาคตสิมิลัน บนความสมดุลของการท่องเที่ยว” โดย ผศ. ดร.ดรรชนี เอมพันธุ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

งานวิจัยเพื่ออนาคต

ด้านสาธารณะ จํานวน 1 รางวัล ได้แก่ “การบูรณะโบราณสถานเพื่อรากฐานการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน” ซึ่งมี รศ. ดร.นคร ภู่วโรดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าชุดโครงการ

ด้านพาณิชย์ จํานวน 4 ผลงาน ได้แก่ “หุ่นยนต์สำหรับการขูดหน้ายางรถยนต์อัตโนมัติในกระบวนการผลิต ยางหล่อดอก” โดย ผศ. ดร.ชนะ รักษ์ศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ “การผลิตเนื้อไก่กรดยูริคต่ำจากไก่ลูกผสมพื้นเมืองเพื่อส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันในตลาดอาหารสุขภาพในระดับอุตสาหกรรม” โดย ศ. ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา มหาวิทยาลัยขอนแก่น “การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นสารเคมีมูลค่าเพิ่ม” โดย รศ. ดร.ธงไทย วิฑูรย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ “เสื้อดมกลิ่นกายอัจฉริยะ” โดย ดร.ธารา สีสะอาด และ ผศ. ดร.ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล

ด้านชุมชนและพื้นที่ จํานวน 4 ผลงาน ได้แก่ “การฟื้นฟูดินปนเปื้อนสารอันตรายด้วยอนุภาคนาโน เพื่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัย โดยชุมชนเพื่อชุมชน: กรณีนำร่องนาข้าวปนเปื้อนแคดเมียม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก” โดย ผศ. ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ มหาวิทยาลัยนเรศวร “บางชะนีโมเดล กระบวนการปรับตัวของ ชาวนาในพื้นที่ทุ่งรับน้ำ” โดย เรณู กสิกุล นักวิจัยเพื่อท้องถิ่น “งานวิจัยไร้พรมแดน 45 ปี แห่งการพลัดพรากสู่การฟื้นความสัมพันธ์ชุมชนท้องถิ่นชายแดน ไทย-กัมพูชา” โดย รุ่งวิชิต คำงาม นักวิจัยเพื่อท้องถิ่น และ “นวัตกรรมการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวในกล้วยในประเทศไทย” โดย ดร.ปฏิมาพร ปลอดภัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ด้านวิชาการ จํานวน 3 ผลงาน ได้แก่ “นโยบายต่างประเทศไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านในยุคสงครามเย็น : สี่กรณีศึกษาเปรียบเทียบ” โดย สุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต “งานวิจัยมุ่งเป้าในการศึกษา สมุนไพรไทยและใช้เทคโนโลยีต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์” โดย ศ. ดร.ศุภยางค์ วรวุฒิคุณชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ “นวัตกรรมอุปกรณ์กักเก็บพลังงานไฟฟ้าเคมีจากวัสดุผสมของกราฟีนแอโรเจล” โดย ผศ. ดร.มนตรี สว่างพฤกษ์ สถาบันวิทยสิริเมธี

งานวิจัยเพื่ออนาคต

“จะเห็นได้ว่าความสำเร็จของทั้ง 13 ผลงาน ล้วนมาจากพลังปัญญาและความทุ่มเทของคณะผู้วิจัยรวมทั้งการได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ จนทำให้ผลงานวิจัยตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและสร้างผลกระทบเกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปในทิศทางที่ดี ดังที่ปรากฏเป็นที่ประจักษ์ และในโอกาสที่ สกว. ดำเนินงานมาเกือบ 3 ทศวรรษ กำลังเปลี่ยนผ่านสู่บทบาทใหม่เป็น สกสว. ซึ่งบทบาทของสกสว.จะเปลี่ยนไปทั้งหมด โดยเข้ามาช่วยดูแลทั้งระบบ เริ่มตั้งแต่เขียนแผน ยกร่าง วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีกองทุนส่งเสริมวิจัยและนวัตกรรม รัฐนำงบประมาณมาลง พร้อมจัดสรรไปยังหน่วยงานวิจัยของประเทศ การที่สกสว.เข้าไปดูระบบ และเชื่อมโยงงานวิจัย วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม เป็น Value Chain ถือเป็นงานที่ใหญ่มากและมีผลกระทบ (Impact) มหาศาล เช่น แผนงานโครงการขนาดใหญ่ เช่น Genomics งบประมาณหลายร้อยล้านบาท มารับทุนจากสกสว. รวมทั้งโครงการเก่าต่อเนื่องให้รับทุนจากเรา ส่วนโครงการย่อย ๆ ทุนวิจัยปี 2563 ให้รับทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ” ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าว


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save