ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสวทช. “เร่งขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาใน 5 สาขาวิจัยหลักสู่การใช้จริง”


สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และและเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เร่งขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อบูรณาการขยายผลงานวิจัยความเชี่ยวชาญครอบคลุม 5 สาขาวิจัยหลัก ประกอบด้วย 1.วิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยี 2. เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์และวิศวกรรม 3. เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศ 4. นาโนศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี และ 5. เทคโนโลยีพลังงาน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศสู่การใช้จริงให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

สวทช. ชูจุดแข็งมีความเชี่ยวชาญครอบคลุม 5 สาขาวิจัยหลัก

ที่เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ

ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์  ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. ป็นหน่วยงานการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับประเทศ มีการบ่มเพาะองค์ความรู้มากว่า 31ปี ซึ่งแต่ละองค์ความรู้ได้นำไปขับเคลื่อนช่วยเหลือภาคส่วนต่างๆมากมายทั้งในช่วงภาวะปกติและในช่วงที่เกิดวิกฤตต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งนี้สวทช. มีความเชี่ยวชาญครอบคลุม 5 สาขาวิจัยหลัก ที่เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ ได้แก่ 1.วิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยี 2.เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์และวิศวกรรม 3.เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศ 4.นาโนศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี และ 5.เทคโนโลยีพลังงาน โดย สวทช. จะมุ่งมั่นสร้างผลงานด้าน วทน. ที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริงจนก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศใน 4 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ 1.เกษตรและอาหาร ยกระดับการะบวนการผลิตในภาคเกษตรและอาหารทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงใช้ใช้ประโยชน์ แปรรูปและนำกลับไปใช้ใหม่ 2.สุขภาพและการแพทย์ พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางด้านสุขภาพและการแพทย์ โดยจะเน้นเครื่องมือ อุปกรณ์การแพทย์และผลิตภัณฑ์ยาที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศจำนวนมากในอดีตที่ผ่านมา 3.พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ  พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนพลังงาน วัสดุและเคมีชีวิตภาพ โดยคำนึงถึงการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาดและ 4.เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมหรือเศรษฐกิจวิถีใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นกลไกสำคัญ เน้นดำเนินงานการพัฒนาภายใต้ โมเดลเศรษฐกิจบีซีจี ประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว และแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนให้ทุกภาคส่วนมีโอกาสเข้าถึง ลดการตื่นตระหนก ลดความเหลื่อมล้ำและกระจายองค์ความรู้ให้ทั่วถึงให้มากที่สุด และพร้อมจะส่งเสริม ผลักดัน ประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน หน่วยวิจัยที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาสังคมต่างๆเพื่อร่วมกันยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

นอกจากนี้ สวทช. พร้อมรับข้อเสนอแนะความคิดเห็นต่างๆมาปรับทิศทางแนวนโยบายและการบริหารองค์กรอยู่เสมอเพราะ สวทช.เชื่อว่าการทำงานย่อมมีปัญหาและอุปสรรคเข้ามาให้ปรับแก้อยู่ตลอดเวลา ปัจจุบัน สวทช.มีบุคลากรประมาณ 3,081 คน แบ่งเป็นปริญญาโท 43% ปริญญาตรี 30% ปริญญาเอก 25% และต่ำกว่าปริญญาตรี 2% ที่พร้อมจะร่วมสนับสนุนและทำงานตอบโจทย์ประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน

 

เร่งนำงานวิจัยช่วยเหลือสังคม

ศ.ดร.ชูกิจ กล่าวว่างานวิจัยของ สวทช. มีอยู่หลายด้านด้วยกัน  ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจและประชาชน ทั้งนี้จะเร่งนำงานวิจัยที่มีอยู่ผนวกกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมสมัยใหม่ในแต่ละยุคสมัย ถ่ายทอดสู่ประชาชนภาคส่วนต่างให้เข้าถึง เพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยสู่การนำไปใช้งานได้จริงทั้งในเชิงเทคโนโลยีและในเชิงนำไปประดิษฐ์เป็นเครื่องมืออุปกรณ์นำไปแก้ปัญหาในทุกๆเรื่องทุกๆระดับตามความเหมาะสมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกภาคส่วน อาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันทีแต่ในระยะยาวเชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ เช่น ในช่วงวิกฤต COVID-19 สวทช. ได้นำงานวิจัยมาผลิตคิดค้นสร้างนวัตกรรม เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆที่ช่วยเหลือประชาชน สังคมมากมายออกมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้ประสานความร่วมมือกับทางกระทรวงสาธารณสุขร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ COVID-19  การนำงานวิจัยไปใช้ปรับการผลิตปูนซีเมนต์ในภาคเอกชนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ลดลงและการเปลี่ยนจากการซื้อเทคโนโลยีจากภาคเอกชนมาเป็นการลงนามความร่วมมือในการร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยีแทน  รวมทั้งการลงนามความร่วมมือในการคิดค้นสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆกับภาคเอกชน เป็นต้น

“การทำงานต้องใช้เวลา อาจจะไม่เห็นผลในระยะสั้นภายใน 6 เดือน – 1 ปี แต่เชื่อมั่นว่าในระยะยาวงานวิจัยต่างๆที่นำไปถ่ายทอดนั้นจะก่อให้เกิดผลที่ดี สร้างอาชีพ สร้างรายได้และสร้างโอกาสแก่ประชาชน ชุมชนและประเทศต่อเนื่องเป็นระบบนิเวศชุมชนที่เข้มแข็ง ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตต่างๆเข้ามากระทบก็จะพึ่งพาตนเองอยู่รอดได้”  ศ.ดร.ชูกิจ กล่าว

นอกจากนี้กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งหน่วยงานกลางขึ้นมาเพื่อนำงานวิจัยของหน่วยงานภายใต้ สวทช. ไปเผยแพร่ให้ภาครัฐ เอกชน ประชาชน มหาวิทยาลัยและอื่นๆเข้าศึกษาเรียนรู้เพิ่มหาก และอาจจะมีงานวิจัยที่เสียค่าลิขสิทธิ์ขายผลงานวิจัยในการเข้าถึงการศึกษาเรียนรู้ให้นักวิจัยมีรายได้นำเงินรายได้ที่ได้ไปใช้ศึกษาวิจัยงานวิจัยอื่นๆเพิ่มเติมมากขึ้น

 

สวทช.พร้อมสนับสนุนสตาร์ทอัปและSME

   สำหรับสตาร์ทอัปและ SME  สวทช.ได้ดำเนินนโยบายช่วยเหลือสตาร์ทอัปและ SME ดูแลอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้อาจจะมีสตาร์ทอัปและ SME บางรายที่สวทช.ให้การสนับสนุนแล้วไม่ประสบความสำเร็จ เช่น สตาร์ทอัปไม่ปรับตัวนำโมเดลในการวิจัยในการถ่ายทอดองค์ความรู้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจตลาดและกลุ่มผู้บริโภครวมทั้งการนำงานวิจัยไปใช้อาจจะไม่ไม่ต่อเนื่อง  การทำการตลาดที่จับจังหวะตลาดผิดพลาดผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดมากจนเกินไป เงินทุนของสตาร์ทอัปเองไม่เพียงพอในการนำมาต่อยอดทางธุรกิจในช่วงแรกๆและการไปขอเงินทุนสนับสนุนจากทางธนาคารภาครัฐอาจจะไม่เพียงพอ เป็นต้น ซึ่งสวทช. ได้นำปัญหาที่พบมาปรับแก้และพยายามที่จะหาแนวทาง หาพันธมิตรเข้าช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในส่วนของงบประมาณที่สวทช.จะสนับสนุนสตาร์ทอัปและ SME นั้นต้องยอมรับว่ามีอยู่จำนวนไม่มาก และต้องนำงบประมาณในการสนับสนุนใช้อย่างรอบคอบรอบด้าน อาจจะทำให้สตาร์ทอัปและ SME ได้งบประมาณเฉลี่ยไม่เท่ากันในแต่ละส่วน   ทั้งนี้สวทช.จะพยายามช่วยเหลือหาภาคเอกชนที่มีศักยภาพด้านเงินทุนมาร่วมสนับสนุนงานวิจัยเฉพาะด้านเพิ่มเติม

 

ส่งเสริมนักวิจัยที่มีศักยภาพให้มีโอกาสศึกษา

และทำงานในระดับที่สูงขึ้น

                ศ.ดร.ชูกิจ กล่าวว่า ในส่วนของการส่งเสริมนักวิจัยของสวทช.ให้มีศักยภาพ  สวทช.จะพยายามสร้างโอกาสให้มีการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งในประเทศและในต่างประเทศ รวมทั้งจะเร่งประสานความร่วมมือปลดล็อกข้อจำกัดของนักเรียนทุน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) ที่ไปศึกษาต่อยังต่างประเทศเมื่อศึกษาจบกลับมาต้องทำงานกับภาครัฐเท่านั้นให้มีโอกาสในการไปร่วมทำงานกับภาคเอกชนเพื่อ เข้าไปต่อยอดองค์ความรู้ สร้างมูลค่าเพิ่มทางองค์ความรู้ ผลิตผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าต่อเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งสร้างบุคลากรใหม่ๆเข้ามาร่วมทำงานพัฒนา สวทช.ให้เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศให้มีความเข้มแข็ง ตอบโจทย์ประชาชน สังคมและประเทศต่อไป


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save