วว. โชว์ผลงานพัฒนาเชิงพื้นที่ “ชัยนาท” ด้วย วทน. ยกระดับเกษตรกร วิสาหกิจ 70 ราย ครอบคลุม 8 อำเภอ 34 ตำบล


กระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม  (อว.)  โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำเสนอผลงานวิจัยกับการพัฒนาเชิงพื้นที่ จังหวัดชัยนาท  ด้วย วทน.  ประสบผลสำเร็จยกระดับพัฒนาเกษตรกร วิสาหกิจรายย่อยได้จำนวน 70 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 8 อำเภอ  34  ตำบล  ในเวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการเผยแพร่ผลการศึกษาและรับฟังข้อคิดเห็นจากสาธารณะโครงการศึกษาภาพอนาคตแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงสังคม จัดโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)    ผ่านระบบ ZOOM  Meeting  เมื่อเร็วๆ นี้

ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา  เอี่ยมโชติชวลิต   ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  ร่วมนำเสนอผลการดำเนิน วว. ในเวทีเสวนาทางวิชาการ เรื่อง“งานวิจัยกับการพัฒนาเชิงพื้นที่ จ.ชัยนาท ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เชิงสังคม  ว่า  วว. มุ่งเน้นตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนและประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area based) ร่วมกับหน่วยงานและสถาบันการศึกษาในพื้นที่ สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนผ่านโครงการต่างๆ ที่มี Impact  อาทิ โครงการคูปองวิทย์เพื่อโอทอป  โครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากไม้ดอกไม้ประดับ  โครงการยกระดับโอทอปในพื้นที่จังหวัดชัยนาท  เป็นต้น  สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในรูปแบบของรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้แก่ชุมชนและผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนามากกว่า 300 ล้านบาทต่อปี

สำหรับ “จังหวัดชัยนาท” เป็นหนึ่งในพื้นที่ดำเนินงานของ วว. ที่ประสบผลสำเร็จในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เข้าไปพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยดำเนินการพัฒนาและยกระดับเกษตรกร  วิสาหกิจรายย่อย ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 8 อำเภอ (100%) 34 ตำบล (66.67%) รวมจำนวนเกษตรกรและวิสาหกิจรายย่อยที่ได้รับการพัฒนาและยกระดับทั้งสิ้น 70 ราย/กิจการ แบ่งเป็นการพัฒนาเชิงลึกและตรวจประเมินเพื่อให้การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี มกษ. 9001-2556 จำนวน 15 ราย/กิจการ ในพื้นที่  58 ไร่ 2 งาน  โดยมีผลผลิตการเกษตร ได้แก่  ส้มโอ  กล้วย มะขามป้อม ถั่วดาวอินคา และแตงกวา  รวมทั้งการยกระดับผู้ประกอบการโอทอป จำนวน  55  ราย/กิจการ  โดยพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการผลิต การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์  ให้กับผลผลิตการเกษตร ได้แก่  ส้มโอ กล้วย ขนุน  ข้าว  เห็ด แคนตาลูป ถั่วดาวอินคา  หน่อไม้ มะเขือเทศ ไข่เป็ด พริกและเครื่องเทศ จิ้งหรีด ปลา กุ้ง และผลิตภัณฑ์ของใช้ ได้แก่  ผักตบชวา กะลามะพร้าว หวายดอกหญ้า  ไม้ไผ่  เชือกปอ  เชือกมัดฟาง  และเตาอั้งโล่

“การดำเนินงานระยะต่อไปของ วว. ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท จะมุ่งขับเคลื่อนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ผ่านการบูรณาการดำเนินงานร่วมกับพันธมิตรเครือข่ายภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษา ซึ่ง วว. มีความเชี่ยวชาญทั้ง  3  กรอบเศรษฐกิจสำคัญ คือ 1.เศรษฐกิจชีวภาพ ได้แก่ การใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อแปลงเกษตรมูลค่าสูง  การพัฒนาสมุนไพรอัตลักษณ์ประจำถิ่น  การบำบัดสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในสิ่งแวดล้อมโดยกระบวนการทางชีวภาพ และเห็ดเพื่อชุมชน  2.เศรษฐกิจหมุนเวียน ได้แก่ การจัดการขยะชุมชน การเพิ่มมูลค่าจากขยะ (ปุ๋ย Biogas  เชื้อเพลิง RDF)  และ 3.เศรษฐกิจสีเขียว ได้แก่ กระบวนการอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์   และ Smart Packaging จากวัสดุธรรมชาติ ทั้งนี้เชื่อมั่นว่าด้วยความพร้อมขององค์ความรู้ เทคโนโลยีและบุคลากรของ วว. และพันธมิตร จะนำมาซึ่งผลงานความสำเร็จเป็นรูปธรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืน.” ผู้ว่าการ วว. กล่าว


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save