วว. ชูผลสำเร็จ “โครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากระดับจังหวัดด้วยวทน.” สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่นำร่อง 8 จังหวัด


สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  เผยผลการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากระดับจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตภาคเกษตรระดับชุมชนท้องถิ่น ในพื้นที่ 8 จังหวัดเป้าหมาย ได้แก่ จันทบุรี ชุมพร ปทุมธานี พังงา เพชรบูรณ์ สกลนคร สมุทรสงคราม และอุดรธานี โดยแบ่งกลุ่มตามเทคโนโลยีการเกษตร ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยีและกระบวนการด้านการเกษตร สำหรับเกษตรกร ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสินค้าเกษตร ประชาชนผู้สนใจทำเกษตร กลุ่มผลิตภัณฑ์จากนวัตกรรมเกษตรสำหรับประชาชนและผู้สนใจทั่วไป

ดร.ลัทธจิตร มีรักษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า โครงการดังกล่าวของ วว. ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เข้าไปใช้ทำเกษตรกรรม ผ่านนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญนำองค์ความรู้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่เพื่อไปถ่ายทอดแก่เกษตรกรในพื้นที่ 8 จังหวัดนำร่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤต COVID-19 ให้เกิดเครือข่ายภาคการเกษตรที่เข้มแข็ง สร้างงานสร้างรายได้และสร้างมูลค่าเพิ่มทางการการเกษตรขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่มีคุณภาพ ช่วยสร้างรายได้ ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร สินค้าแปรรูป ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นการบริโภคของประชาชนภายในประเทศจากสินค้าเกษตรคุณภาพดี และผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมจากวัตถุดิบท้องถิ่น เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในประเทศที่เข้มแข็งและยั่งยืน ส่วนในอนาคตจะขยายสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรทั่วประเทศมีองค์ความรู้ภาคการเกษตรที่เข้มแข็งขึ้นด้วย วทน.  รวมทั้งขยายสู่ภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชนต่อไป

วิโรจน์ นรารักษ์ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ในช่วงวิกฤต COVID-19 ภาคส่วนต่าง ๆได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่พี่น้องเกษตรกรแทบทุกภาคไม่สามารถที่จะผลิตผลผลิต ทำการเกษตรและขายผลผลผลิตส่งขายทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ เนื่องจากข้อห้ามทางสาธารณสุขต่างๆ และเกรงการปนเปื้อนการติด COVID-19 จะมีในการเกษตร ดังนั้น ทางสภาพัฒน์ฯจึงร่วมกับ วว. จัดทำโครงการฯเพื่อช่วยเหลือพี่น้องการเกษตรขึ้น โดยนำร่องในพื้นที่ที่มีศักยภาพมีคุณสมบัติตามข้อกำหนด เนื่องจากงบประมาณในการนำมาใช้ดำเนินโครงการฯ ค่อนข้างมีจำกัด ซึ่งการดำเนินการได้ผลที่ดีมาก ช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่นำร่องทั้ง 8 จังหวัด มีกลวิธีในการดำเนินการเกษตรรูปแบบใหม่ ทั้งการทำสมุนไพรโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีการวิเคราะห์ค่าดินก่อนทำการปลูก การผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองนอกฤดูและการแปรรูปผลผลิตการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้นในผลผลิตทางการเกษตรต่างๆ สร้างมูลค่าเพิ่มทางผลผลิตทางการเกษตรให้มีราคาที่สูงขึ้น สร้างงานสร้างรายได้ให้พี่น้องมีคามเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งสร้างโอกาสให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปมารวมกลุ่มในการทำการเกษตรมากขึ้นด้วย  สำหรับการร่วมสนับสนุนในอนาคตทางสภาพัฒน์ฯ ยินดีที่จะนำผลการดำเนินนี้ไปขยายผลต่อเพื่อหาเงินงบประมาณมาร่วมสนับสนุนในพื้นที่ทำการเกษตรในเฟสต่อไป

ดร.อาภากร สุปัญญา รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรมสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า โครงการดังกล่าวฯ ได้ดำเนินงานมาแล้ว 7  เดือนในจังหวัดนำร่อง 8 จังหวัดเป้าหมาย ได้แก่ จันทบุรี ชุมพร ปทุมธานี พังงา เพชรบูรณ์ สกลนคร สมุทรสงคราม และอุดรธานี โดยแบ่งกลุ่มตามเทคโนโลยีการเกษตร ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยีและกระบวนการด้านการเกษตร สำหรับเกษตรกร ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสินค้าเกษตร ประชาชนผู้สนใจทำเกษตร กลุ่มผลิตภัณฑ์จากนวัตกรรมเกษตรสำหรับประชาชนและผู้สนใจทั่วไป ด้วยหลักแนวความคิด นวัตกรรมความคิด พิชิตเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน นำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตามหลักการ ทำน้อยได้มาก พัฒนาตลอดห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งเน้นการให้ความรู้แก่ประชาชนถ่ายทอดผ่านนักวิจัย ตั้งแต่ต้นทาง ด้านการผลิตผลการเกษตร กลางทางด้านการสกัดและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรในระดับอุตสาหกรรมกลางและขนาดย่อมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และปลายทาง ด้านการขนส่ง การตลาด และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร ยกระดับอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัด เพื่อสร้างรายได้และกระจายรายได้จากเกษตรกรเดิมสู่เกษตรกรใหม่ด้วย วทน. ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบท้องถิ่น สร้างมูลค่าเพิ่มทาการเกษตรหาช่องทางการตลาดการส่งสินค้าทางการเกษตรเพื่อจำหน่ายทางออนไลน์และร่วมกลุ่มการทำการเกษตรให้เกิดความเข้มแข็งต่อรองราคากับพ่อค้าคนกลางได้

โดยวว.ทำงานร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่ดำเนินการสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสำนักงานเกษตรจังหวัด มหาวิทยาลัย รวมถึงเครือข่ายเกษตรกรที่รวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่ หรือศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.

ดร.อาภากร กล่าวว่า สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ วทน.ใน 8 จังหวัด ประกอบด้วย 1. จังหวัดจันทบุรี วว. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างนวัตกรรม การพัฒนากระบวนการผลิตสมุนไพร การพัฒนากระบวนการผลิตใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามค่าวิเคราะห์ดินและการชีวภัณฑ์ ช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตเชิงปริมาณและคุณภาพ 2.จังหวัดชุมพร วว. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างนวัตกรรม การยืดอายุการเก็บรักษาใบกระท่อม สามารถส่งจัดจำหน่ายในพื้นที่ห่างไกลและมีอายุการจำหน่ายยาวนานขึ้น และการลดต้นทุนเพื่อการผลิตทุเรียนอย่างยั่งยืน สามารถลดต้นทุนได้ถึงร้อยละ 30 และสามารถผลิตสารชีวภัณฑ์จากเชื้อที่มีคุณภาพดี ต้นทุนต่ำและง่ายต่อการนำไปใช้งาน 3.จังหวัดปทุมธานี วว. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างนวัตกรรม การผลิตกล้วยต้นเตี้ยเพื่อการลดการหักล้มจากพายุช่วยลดการสูญเสียจากลม และการให้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชยังส่งผลดีต่อการเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพ เทคโนโลยีการผลิตกล้วยผลโตโดยใช้ฮอร์โมน ทำให้ราคาผลผลิตสูงขึ้น และการพัฒนายกระดับการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสารสกัด นำสารสกัดจากวัตถุดิบท้องถิ่น ได้แก่ บัวหลวง ข้าวหอมปทุม กล้วยหอมทอง พัฒนาเป็นเครื่องสำอาง สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าการเกษตร 4.จังหวัดพังงา วว. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างนวัตกรรมการเพิ่มผลผลิตผักเหลียงสด โดยใช้สารชีวภัณฑ์ที่เหมาะสม ต้นทุนต่ำ ประสิทธิภาพสูงในการเพิ่มผลผลิต ทำให้เก็บผลผลิตได้มากกว่าเดิมถึง 2 เท่า และการยืดอายุการเก็บใบเหลียงสด สามารถเก็บได้นานขึ้น จากเดิม 5-7 วัน เป็น 10-15 วัน ทำให้เพิ่มระยะเวลาการจำหน่ายได้มากขึ้น 5.จังหวัดเพชรบูรณ์ วว. ถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการสร้างนวัตกรรมการพัฒนากระบวนการผลิตและแปรรูปสมุนไพรและพืชท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มขิง เป็นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ อินทรีย์เคมีที่มาจากวัสดุในท้องถิ่นเชิงปริมาณและระยะเวลา ที่เหมาะสม ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตเชิงปริมาณและคุณภาพ อีกทั้งทำให้เกิดกระบวนการผลิตขิงที่ได้มาตรฐาน การพัฒนากระบวนการผลิตและแปรรูปสมุนไพรและพืชท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มกระบวนการสกัดน้ำมันอะโวคาโด เป็นกระบวนการสกัดและฟอกสีที่ได้มาตรฐาน 6.จังหวัดสกลนคร วว. ถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้การใช้ชีวภัณฑ์ในระบบเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ ช่วยควบคุมคุณภาพของจุลินทรีย์ที่ผลิต ลดการปนเปื้อน ลดระยะเวลาการเลี้ยง ขยายเชื้อจุลินทรีย์และใช้งานง่าย และน้ำใบย่านางอเนกประสงค์ผง โดยใช้เทคโนโลยี Freeze dry เพื่อลดการสูญเสียคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการ 7.จังหวัดสมุทรสงคราม วว. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมการเพิ่มผลผลิตคุณภาพลิ้นจี่พันธุ์ค่อม ด้วยสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชบังคับการออกดอกของลิ้นจี่ สามารถทำให้ลิ้นจี่ออกดอกได้เร็วขึ้น ลดการหลุดร่วงของดอก ทำให้ขนาดผลผลิตโตขึ้น และคุณภาพดีขึ้น เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวด้วยการรมด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และ ชีวภัณฑ์ เพื่อป้องกันโรคและแมลงศัตรูลิ้นจี่ในพื้นที่ และยังสามารถใช้สำหรับเพิ่มผลผลิตส้มโอในพื้นที่ได้อีกด้วย และ 8.จังหวัดอุดรธานี วว. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรม การผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองนอกฤดูกาล โดยการใช้สารควบคุมการออกดอกและติดผลนอกฤดู ส่งผลดีทั้งระยะสั้น คือทำให้ได้ผลผลิตนอกฤดูกาล และส่งผลระยะยาว คือ เกษตรกรสามารถขยายผลให้สมาชิกกลุ่ม ทำให้เกิดการลงทุนในภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น

“ส่วนการขยายโครงการฯไปสู่จังหวัดอื่นๆในเฟสต่อไปนั้นทาง วว. มีฐานข้อมูลของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่อยู่แล้วและพร้อมที่จะสนับสนุนขับเคลื่อนการดำเนินโครงการฯนี้สู่เกษตรกรทุกพื้นที่ของประเทศเพื่อให้เกษตรกรไทยมีรายได้ มีคุณภาพความเป็นอยู่และชีวิตครอบครัวที่ดีขึ้น ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจทางรากที่เป็นพื้นฐานขอประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งจากกลุ่มเกษตรกรจังหวัดหนึ่งไปสู่อีกจังหวัดหนึ่งเชื่อมโยงสร้างเครือข่ายสร้างรายได้สร้างชุมชนให้อยู่ได้ด้วย วทน.” ดร.อาภากร กล่าว

บรรเลง ศรีสวัสดิ์ ผู้แทนเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน จังหวัดชุมพร ในฐานะผู้แทนเกษตรกร 8 จังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ กล่าวว่า จากการเข้าร่วมโครงการฯ ทำให้เรียนรู้เทคนิคการปลูกทุเรียนและวิธีการดูแลรักษาผลผลิตตั้งแต่ดอก ช่อแรกไปจนถึงการส่งขายในตลาด ซึ่งก่อนหน้านี้ในช่วง COVID-19 การขายทุเรียนลำบากมาก มีผลผลิตทุเรียนเหลือจำนวนมาก เนื่องจากผู้บริโภคเกิดความกลัวว่าการขนส่งสู่ผู้บริโภคจะมีการติดเชื้อ COVID-19 ด้วย แต่เมื่อมีการนำองค์ความรู้จาก ทาง วว. มาประยุกต์ใช้ รวมทั้งการการันตีคุณภาพและการันตีความปลอดภัยทำให้ผลผลิตทุเรียนกลับมาขายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการทดลองทำการเกษตรอื่น ๆผสมผสานในสวนทุเรียนระหว่างรอผลผลิตเพื่อสร้างรายได้อีกทางหนึ่งด้วย อีกทั้งการทำการดูแลผลผลิตทุเรียนสามารถลดต้นทุนที่ใช้ปุ๋ยเคมีไปได้จำนวนค่อนข้างมาก ช่วยให้ไม่ก่อให้เกิดมลพิษแก่ทั้งตัวเกษตรกรผู้ทำสวนทุเรียนเองและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ได้มีเกษตรกรรายอื่นๆที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการสอบถามองค์ความรู้และสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก คิดว่าหากโครงการฯ นี้ขยายต่อเนื่องไปจะส่งผลดีต่อเกษตรกรทั่วประเทศ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save