ม.มหิดล ค้นพบแนวทางใหม่ในการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของวัสดุฉลาดเพื่อประโยชน์ในอุตสาหกรรม ช่วยประหยัดทรัพยากรโลก


นักวิทยาศาสตร์ในยุคแรกเริ่ม เชื่อว่าโลกเกิดจากธาตุทั้ง 4  คือ ดิน(Earth) น้ำ (Water) ลม (Air) และไฟ (Fire) ซึ่งเป็นแนวคิดที่นำไปสู่การค้นพบธาตุชนิดใหม่อีกมากมายในเวลาต่อมา จากการหลอมรวมของสสารชนิดต่างกัน ซึ่งในทางเคมี ถือเป็นการนำสสารมารวมกันเพื่อสร้างสรรค์สู่ “ธาตุ” หรือ “สสารชนิดใหม่” ที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ หรือดีขึ้นกว่าเดิม

รองศาสตราจารย์ ดร.รักชาติ ไตรผล อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล  ในฐานะนักเคมี-ฟิสิกส์ที่มีความรู้สามารถในการสังเคราะห์สารขึ้นใหม่ ด้วยองค์ความรู้อันเป็นคุณูปการต่อวงการวัสดุศาสตร์ จนสามารถคว้ารางวัลในระดับชาติจากผลงาน “การควบคุมพฤติกรรมการเปลี่ยนสีของพอลิไดอะเซทติลีนแอสเซมบลี : อิทธิพลของการจัดเรียงตัวสายโซ่สารเติมแต่ง แอลกอฮอล์ พอลิเมอร์ และตัวทำละลาย” ซึ่งได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 รางวัลผลงานวิจัย ระดับดี สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เมื่อเร็วๆ นี้

รองศาสตราจารย์ ดร.รักชาติ ไตรผล มองว่าการสังเคราะห์สารขึ้นใหม่เพื่อให้ได้คุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากร อีกทั้งทำให้ต้องเสียทั้งเวลา และงบประมาณเพิ่มขึ้น ตลอดจนอาจไม่สามารถสังเคราะห์ได้เพียงพอและทันต่อการนำไปใช้งานในระดับอุตสาหกรรม    เมื่อเปรียบเทียบกับการนำทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว มาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากการเติมสารเคมีบางตัว ซึ่งในที่นี้ คือ”วัสดุฉลาด” (Smart  Material) หรือวัสดุที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อมที่ชื่อว่า “พอลิไดอะเซทติลีน” (Polydiacetytenes; PDAs) ซึ่งเป็นวัสดุพอลิเมอร์ที่เปลี่ยนสีได้เมื่อสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอกหลายชนิด สารชนิดนี้หาซื้อได้ไม่ยาก และมีราคาไม่สูงมาก จากงานวิจัยค้นพบว่า เมื่อทำการสังเคราะห์ผ่านการจัดเรียงตัว (Self – assembly) และควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้องเช่น ตัวทำละลาย การใส่สารเติมแต่งพอลิเมอร์ หรือแอลกอฮอล์ ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนคุณสมบัติให้ตรงตามที่ต้องการได้ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.รักชาติ ไตรผล ได้ค้นพบวิธีการใหม่ในการเตรียมสารที่มีคุณสมบัติการเปลี่ยนสีแบบผันกลับได้ และยังสามารถควบคุมอุณหภูมิที่เกิดการเปลี่ยนสีได้อีกด้วย

ในขณะที่การใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย แอลกอฮอล์จะเข้าไปแทรกภายในโครงสร้างให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันและกันน้อยลง สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนสีได้โดยง่ายโดยมีตัวทำละลายเป็นตัวควบคุม โดยคุณสมบัติการเปลี่ยนสีสามารถนำไปต่อยอดประยุกต์ใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์ (Products) ที่ใช้เซนเซอร์ (Sensors) หรือชุดทดสอบ (Test Kits) ต่างๆ ในทางอุตสาหกรรมได้ต่อไป

ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.รักชาติ ไตรผล ได้ทุ่มเทเวลาเกือบ 2 ทศวรรษ ศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ด้วยหลักการทางเคมี-ฟิสิกส์ จนสามารถค้นพบสารที่มีคุณสมบัติใหม่เพิ่มขึ้นมากมาย

โดยเชื่อมั่นว่าการจะทำงานวิจัยให้ประสบผลสำเร็จต้องใช้เวลาและความมุ่งมั่นใส่ใจ การทำตามกระแสอาจดูน่าท้าทาย แต่อาจต้องเริ่มต้นใหม่อยู่เรื่อยๆ อีกทั้งผลที่ได้อาจไม่ยั่งยืน เท่าการได้เรียนรู้แบบลึกซึ้งอย่างแท้จริง


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save