วสท. ผนึกกำลัง 2 องค์กรวิชาชีพ ออกมาตรฐาน BIM ครั้งแรกในไทย พร้อมเสนอรัฐบรรจุแผนพัฒนา BIM แห่งชาติใน Thailand 4.0


วสท. ผนึกกำลัง 2 องค์กรวิชาชีพ ออกมาตรฐาน BIM ครั้งแรกในไทย พร้อมเสนอรัฐบรรจุแผนพัฒนา BIM แห่งชาติใน Thailand 4.0

กรุงเทพฯ – 6 พฤศจิกายน 2562 : ท่ามกลางสงครามการค้า การแข่งขันและดิสรัปชั่น อุตสาหกรรมออกแบบและก่อสร้าง มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเมืองและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่ประเทศปีละกว่า 1.2 ล้านล้านบาท ผู้ประกอบการ สถาปนิก วิศวกร จำเป็นจะต้องเปลี่ยนผ่านด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน เพื่อก้าวสู่ “Digital Construction”

ทศพร ศรีเอี่ยม

ดร.ทศพร ศรีเอี่ยม กรรมการ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และประธานจัดงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2562 กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหา Disruption อุตสาหกรรมก่อสร้างและสถาปัตยกรรมสร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 1.2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป้าหมายปีพ.ศ.2563 ประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท โดยวิศวกรในประเทศไทยซึ่งมีจำนวน 240,000 คน สถาปนิก 20,000 คน ผู้ประกอบการและซัพพลายเชนอีกจำนวนมาก จำเป็นต้องเปลี่ยนผ่านเพื่อก้าวสู่แพลตฟอร์ม “Digital Construction” และภูมิทัศน์ใหม่ๆ

BIM (Building Information Modeling)

โดย BIM (Building Information Modeling) ถือเป็นหนึ่งในกลไกของ Digital Construction กระบวนการบูรณาการของทุกส่วนในงานก่อสร้างบนโมเดลเดียวกัน ซึ่งจะช่วยพัฒนางานก่อสร้างให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ประหยัดกำลังคนแก้ปัญหาแรงงานที่ขาดแคลน ประหยัดเวลาและพลังงาน ตลอดจนการบริหารจัดการที่แม่นยำและโปร่งใส ลดตค่าใช้จ่ายด้านก่อสร้างอย่างน้อย 30% ลดเวลาที่ใช้ในการเตรียมแบบและก่อสร้าง และลดค่าใช้จ่ายการบริหารโครงการและอาคารลง 20%

ทั้งนี้ในต่างประเทศ อาทิ ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนามล้วนใช้เทคโนโลยี BIM แทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเจริญเติบโตไปอย่างรวดเร็ว ส่วนประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย รุดหน้าไปไกลแล้ว ตามด้วยประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางด้านอุตสาหกรรมสูง เนื่องจากประเทศเวียดนามนั้นมีความจำเป็นต้องเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านสาธารณูปโภค โครงการพัฒนาเมืองใหม่ การพัฒนาคมนาคม และการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

สำหรับประเทศไทยเองมีศักยภาพและจุดเด่นการเป็นเศรษฐกิจอาเซียน แต่ยังนำเทคโนโลยี BIM มาใช้ไม่กว้างขวางนัก เนื่องจากชุดคำสั่งมีราคาต้นทุนสูง ทำให้หลายองค์กรยังคงนิยมใช้เทคโนโลยีดั้งเดิมแบบ 2 มิติ (AutoCAD)

ดร.ทศพร กล่าวว่า ล่าสุดประเทศไทยได้มีการออก BIM Standard ซึ่งจะเป็นมาตรฐานกลางที่สามารถใช้ทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆ และต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ความร่วมมือของ 3 องค์กร ได้แก่ วสท. สภาวิศวกรและสภาสถาปนิก ซึ่งร่วมมือกันตั้งแต่ปีพ.ศ.2560 มีการฝึกอบรมวิศวกรเพื่อให้ความรู้ด้าน BIM ภายในงานสัปดาห์วิศวกรรมแห่งชาติ 2560 ในปีพ.ศ.2561 ได้มีการพูดคุยกับมาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม เพื่อมา Implement ด้าน BIM โดยวสท.ร่วมกับสภาวิศวกร จัดมาตรฐาน BIM Standard และ BIM Application 1 เล่มพร้อมกันนี้วสท.ได้ร่วมกับสภาสถาปนิกจัดฝึกอบรมบุคลากรทางด้าน BIM ประมาณ 3,000 คน

ในอนาคต BIM จะมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื่องจาก BIM ช่วยให้สามารถวางโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการบริหารจัดการเมืองแบบ Smart City ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีข้อมูลของเมืองในรูปแบบ Digital สามารถนำไปใช้กับการวิเคราะห์ บริหารจัดการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“สิ่งที่สำคัญของ Smart City คือ เทคโนโลยีและการวางแผน โดย BIM ทำให้สามารถแก้ไขข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยน ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา Smart City ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อยากเสนอให้ BIM Standard ประเทศไทย เป็นวาระแห่งชาติ โดยให้ท่านประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงนามใน Roadmap จัดทำแผน BIM ทั่วประเทศ เหมือนประเทศเวียดนามที่นายกรัฐมนตรีลงนามแผน BIM แห่งชาติด้วยตนเอง ทำให้เวียดนามล้ำหน้าไปมาก” ดร.ทศพร กล่าว

ทรงพล ยมนาค

ทรงพล ยมนาค ประธานคณะทำงาน BIM สภาสถาปนิก กล่าวว่า ทางคณะทำงานได้มีการออกแบบ Roadmap ของ BIM ในประเทศไทยว่าควรเป็นอย่างไร จากความร่วมมือของสภาวิชาชีพเกิดผลงานหลายด้าน โดยเฉพาะการจัดทำมาตรฐาน BIM ในประเทสศไทย เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพได้ใช้ประโยชน์ พร้อมทั้งฝึกอบรมบุคลากรให้ความรู้ด้าน BIM ซึ่งวสท.ได้เตรียมความพร้อมและพัฒนาคุณภาพบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในเรื่องนี้ ในส่วนของภาคการศึกษา จะต้องพัฒนาในด้านนี้อีกมาก เป็นเนื้องานจะเกิดในการทำงานในปีนี้

“สำหรับโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้ระบบ BIM ได้แก่ โครงการ ONE Bangkok ดุสิตธานีใหม่ Bangkok Mall ซึ่งเป็นอาคารสูงที่สุดในไทย รวมทั้งบมจ. พฤกษา เรียลเอสเตท ที่ใช้ BIM ออกแบบบ้าน ในการพัฒนา BIM ทั่วประเทศ ภาครัฐจะต้องเป็นแม่งานใหญ่ ปัจจุบันอุตสาหกรรมออกแบบก่อสร้างมีมูลค่าสูงมาก ทำอย่างไรจะให้บุคลากรในอุตสาหกรรมนี้ทำงานทั้งในประเทศและออกไปทำงานต่างประเทศได้” ทรงพล กล่าว

วิจิตร ศิลาวิเศษฤทธิ์

วิจิตร ศิลาวิเศษฤทธิ์ สภาสถาปนิก กล่าวว่า BIM หรือ Building Information Modeling เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับวงการก่อสร้าง เป็นกระบวนการตั้งแต่การเริ่มต้นของอาคารจนครบวงจรชีวิตของอาคาร (Life Cycle) เริ่มตั้งแต่การวางโจทย์โครงการ , ออกแบบแนวคิดโครงการ , การออกแบบอาคารหรือโครงสร้างด้วยแบบจำลอง 3 มิติ โดยสามารถสร้างแบบจำลองเสมือนจริงในคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการคำนวณระบุขนาด สเปค จำนวนวัสดุ เหล่านี้จะส่งผลดีต่อสถาปนิกและวิศวกรผู้ออกแบบทุกฝ่าย ทั้งงานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานระบบ สามารถทำงานบนโมเดลเดียวกันได้ ทำให้ประสานงานระหว่างทีมออกแบบและบริหารต้นทุนโครงการได้อย่างมี

ประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดกระบวนการตั้งแต่ออกแบบจำลองแบบอาคาร 3 มิติ ทดสอบ และก่อสร้าง แม้กระทั่งอาคารหมดอายุ สามารถสร้างอาคารให้มีคุณภาพ หากมีการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ ปัจจุบันมีบริษัทชั้นนำในวงการก่อสร้างใช้ระบบ BIM ค่อนข้างมาก เนื่องจากช่วยลดเวลา ปัญหาและลดค่าใช้จ่าย ทำให้การอนุมัติเร็วขึ้น

อย่างไรก็ตาม ปัญหาในอุตสาหกรรมก่อสร้าง คือ ขาดบุคลากรทางด้าน BIM อีกทั้งผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมยังไม่ทำงานทางด้านนี้อย่างจริงจัง เนื่องจากภาครัฐยังไม่สนับสนุนเต็มที่

กิตติพงษ์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์

กิตติพงษ์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์ กรรมการ สภาวิศวกร กล่าวว่า อุตสาหกรรมไทยมีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้น มูลค่าก่อสร้างในภาครัฐในปีพ.ศ.2561 มีมูลค่ากว่า 1.2 ล้านล้านบาท และคาดว่าจะมีมูลค่า 1.3 ล้านล้านบาทในปีพ.ศ.2562 (สัดส่วนปี พ.ศ.2561 เป็นงานก่อสร้างภาครัฐ 53% และงานก่อสร้างภาคเอกชน 47%) เติบโตเฉลี่ย 3 – 5% โดยศูนย์วิจัยกรุงศรีคาดว่ามูลค่าการลงทุนอุตสาหกรรมก่อสร้างโดยรวมในปีพ.ศ.2562 ปี พ.ศ.2563 และปีพ.ศ.2564 จะเติบโต 3.5 – 5.0% , 5 – 7% และ 7.5 – 9.5% ตามลำดับ ผลจากการเร่งลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐและการลงทุนก่อสร้างภาคเอกชนที่คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องตามความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ปริมาณงานก่อสร้างในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ระยะ 3 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มขยายตัวเช่นเดียวกัน

ปัจจุบันเทคโนโลยีของไทยที่ยังล้าหลังตามประเทศอื่น ๆ ไม่ทัน คือ BIM สำหรับผู้ประกอบการก่อสร้าง 80,000 ราย มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่และเล็ก บริษัทใหญ่เติบโตแต่บริษัทเล็กตามไม่ทัน เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูง ในส่วนวิศวกรกว่า 240,000 คน จะต้องได้รับการส่งเสริมองค์ความรู้ในเรื่องนี้ เนื่องจากสภาวิศวกรมองว่า BIM เป็นเครื่องมือสำคัญในการแข่งขัน จึงได้ร่วมมือกับวสท.และสภาสถาปนิกในการทำมาตรฐาน BIM ดังนี้ คือ 1. เปลี่ยนแปลงไปสู่การทำงานเพื่อเพิ่มคุณภาพ 2. สร้างทัศนะใหม่เพื่อขีดความสามารถและยกระดับวิศวกรไทยในการแข่งขันในสากล 3. ใช้เทคโนโลยีในวิชาชีพอย่างเหมาะสม 4. วิธีการทำงานบนมาตรฐานที่เป็นสากล 5. กระบวนการทำงานที่ใช้ข้อมูลเชื่อมโยงด้วยเทคโนโลยี และ 6. นำไปสู่ประโยชน์ร่วมกันในระบบฐานข้อมูลที่โปร่งใส
ขณะนี้สภาวิศวกรกำลังก่อสร้างอาคารใหม่ที่โชคชัย 4 ซึ่งเป็นอาคารที่ล้ำสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการออกแบบ ก่อสร้าง และบำรุงรักษาโดยระบบ BIM

ธเนศ วีระศิริ

ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการ สถาปนิก และวิศวกรต่างใช้ BIM จากประเทศต่าง ๆ โดยที่ยังไม่มี BIM Standard ของประเทศไทย ทั้ง 3 องค์กรจึงจับมือพัฒนา BIM Standard เป็นครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งส่งผลดีและเกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยหลายด้าน คือ 1. ส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย เพื่อสร้างรายได้แก่ประเทศ 2. เป็นมาตรฐานกลางทั้งทางด้านโปรแกรม และผู้ใช้งาน และแนวทางการเลือกใช้งาน BIM สามารถส่งต่อ

ข้อมูลข้ามประเทศได้อย่างสอดคล้องกันกับมาตรฐานของนานาประเทศ 3. เสริมสร้างความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการก่อสร้างและสถาปัตยกรรมทำให้วิศวกร สถาปนิก และบุคลากรในวิชาชีพพัฒนาเรียนรู้ก้าวทันโลก 4. ยกระดับความก้าวหน้าในการประกอบวิชาชีพด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี 5. ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และ 6. ส่งเสริมคุณภาพและประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมก่อสร้าง ที่ถูกต้องแม่นยำและโปร่งใสด้วยธรรมาภิบาล

สำหรับ BIM มีการพูดถึงประมาณ 3-4 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีหลายบริษัท 3 หน่วยงานได้ร่วมกันออกมาตรฐานฉบับที่ 2 โดยคำนึงถึง Competency สำหรับวิศวกร ส่วนมาตรฐาน BIM Standard ซึ่ง 3 หน่วยงานร่วมกันพัฒนาเช่นกัน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี พ.ศ.2563 ที่ผ่านมาวสท.ได้จัดฝึกอบรมให้ความรู้ด้าน BIM แต่ปัจจุบันมีวิศวกรที่เชี่ยวชาญด้าน BIM ไม่มาก ทั้งนี้เห็นควรที่จะเปิดหลักสูตร BIM ในสาขาวิศวกรรมโยธาในมหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันได้มีการยืดหยุ่น ให้มหาวิทยาลัยสามารถเปิดหลักสูตรได้ ในเบื้องต้นวสท.ได้มีการพูดคุยกับมหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งเป็นพันธมิตร รวมถึงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาจ.เชียงใหม่ที่จัดอบรมวิชาเลือกระบบ BIM พร้อมทั้งมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยของภาครัฐในการพัฒนาหลักสูตร BIM โอกาสต่อไป

3 องค์กรชั้นนำ เสนอให้รัฐบรรจุแผนพัฒนา BIM แห่งชาติไว้ในแผน Digital และ Thailand 4.0

ทั้งนี้ 3 องค์กรชั้นนำ ได้เสนอให้รัฐบาลบรรจุแผนพัฒนา BIM แห่งชาติ ไว้ในแผน Digital และ Thailand 4.0 เนื่องจากเวียดนาม ล้ำหน้าไทยไปไกล พราะ นายกรัฐมนตรีเวียดนามมีวิสัยทัศฯในการผลักดันและลงนามแผน BIM แห่งชาติด้วยตนเอง โดย BIM จะเชื่อมต่อทำให้เกิด Smart City ที่มีประสิทธิภาพ และยกระดับการพัฒนาประเทศและก่อสร้างไทย เป็น Digital Constructions แข่งขันได้ในเวทีสากล พร้อมกันนี้รัฐบาลควรเร่งพัฒนาบุคลากรด้าน BIM ใน 2 กลุ่ม คือ 1.บรรจุเข้าหลักสูตรมหาลัย 2. Reskill คนทำงานให้อัพเดทกับเทคโนโลยี BIM

ในส่วนของกรมโยธาธิการและผังเมือง ควรส่งเสริมการพัฒนาและใช้ Thailand BIM Standard เพื่อเป็นมาตรฐานกลางของประเทศไทย ผู้ประกอบการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปเป็นแนวทางหรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับธุรกิจหรือภารกิจของกรมฯ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าโมดูล BIM ต่างประเทศต่อปีในราคาสูง


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save