มธ.เปิดตัวหน้ากากผ้ากันน้ำ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์-ประชาชนทั่วไป แก้ปัญหาขาดแคลนหน้ากากอนามัย


มธ.เปิดตัวหน้ากากผ้ากันน้ำ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์-ประชาชนทั่วไป แก้ปัญหาขาดแคลนหน้ากากอนามัย

จากสถานการณ์การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) นับตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม พ.ศ.2562 จนถึงปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดไปหลายประเทศทั่วโลก และยังไม่มีวัคซีนที่จะป้องกันได้ อีกทั้งหน้ากากอนามัยซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้สวมใส่เพื่อป้องกันลดความเสี่ยงในการติดเชื้อดังกล่าวขาดแคลน ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จึงได้จัดตั้ง คณะทำงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ขึ้น ภายใต้ความร่วมมือของประชาคมธรรมศาสตร์ และหน่วยงานภายนอก เช่น โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อร่วมกันคิดหาแนวทางผลิตหน้ากากอนามัยโดยใช้ผ้าที่มีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ ไม่ดูดซับความชื้น ป้องกันการแพร่เชื้อใช้ทดแทนหน้ากากอนามัยที่ขาดแคลนสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไปในยามวิกฤต

รศ.เกศินี วิฑูรชาติ

รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19)ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้หลายฝ่ายร่วมกันคิดหาแนวทางการรับมือทั้งการพยายามคิดค้นหาวัคซีนรักษา การป้องกันจำกัดพื้นที่ในการระบาด การพยายามที่จะหาสิ่งทดแทนหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ขาดแคลนโดยใช้ผ้านำมาตัดเย็บเป็นหน้ากากาอนามัยสำหรับลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของโรคดังกล่าวชั่วคราวซึ่งทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงได้จัดตั้ง คณะทำงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19(COVID-19) ขึ้น ภายใต้ความร่วมมือของประชาคมธรรมศาสตร์ และหน่วยงานภายนอก เช่น โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกันคิดหาแนวทางผลิตหน้ากากอนามัยโดยใช้ผ้าที่มีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ ไม่ดูดซับความชื้น ป้องกันการแพร่เชื้อ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไปเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถะผลิตหน้ากากอนามัยสะท้อนน้ำล็อตแรก 400 ชิ้นได้ภายใน 15 มีนาคม ศกนี้ เพื่อเตรียมมอบให้บุคลากรทางการแพทย์นำไปใช้ก่อน หลังจากนั้นจะผลิตเพิ่ม 1,000-2,000 ชิ้น เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนทั่วไปนำไปใช้ป้องกันต่อไป

ศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล

ศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา และ ประธานคณะทำงานป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโควิด-19 (COVID-19) กล่าวว่า แนวคิดในการทำหน้ากากอนามัยโดยใช้ผ้านั้นเนื่องจากหน้ากากอนามัยในท้องตลาดขาดแคลนอย่างมาก หาซื้อมาใช้ไม่ได้ โดยเฉพาะหน้ากากาอนามัยที่จะนำมาใช้ทางการแพทย์ภายในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติช่วงที่ผ่านมาก็ประสบปัญหาหน้ากากอนามัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์อยู่ในระดับที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการเช่นกัน แม้ว่าจะมีประชาชนบริจาคหน้ากากอนามัยเข้ามาบ้างแต่ความต้องการใช้สำหรับป้องกันโรคโควิด-19 และสวมใส่สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคต่างๆในแต่ละวันจำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายหรือติดเชื้อ และลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-Use)ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และภาคประชาชน ที่หลายหน่วยงานแนะนำให้เลือกใช้หน้ากากผ้าทดแทนหน้ากากอนามัยแต่ด้วยคุณสมบัติของหน้ากากผ้าทั่วไปจะสามารถดูดซับน้ำได้ดี ซึ่งรวมถึงสารคัดหลั่งด้วย จึงมีโอกาสที่อาจจะติดเชื้อได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นไวรัสโควิด-19,ไข้หวัดปกติทั่วไป

ด้วยเหตุนี้คณะทำงานจึงได้ศึกษาวิจัย คุณสมบัติผ้าที่เหมาะสม พัฒนาเป็น “หน้ากากผ้ากันน้ำ THAMMASK เพื่อใช้ในทางการแพทย์” ผลิตจากวัสดุผ้าสะท้อนน้ำ ไม่ดูดซับความชื้น และช่วยลดโอกาสในการแพร่เชื้อดังกล่าว

ธนิกา หุตะกมล

ธนิกา หุตะกมล อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า หน้ากากผ้ากันน้ำ THAMMASK เพื่อใช้ในทางการแพทย์นั้นเป็นการประยุกต์ใช้โครงสร้างผ้าที่มีคุณสมบัติในการกันน้ำ และเหมาะใช้เป็นวัสดุทำหน้ากากผ้าป้องกันสารคัดหลั่งเบื้องต้น ซึ่งผ้าที่ใช้ คือ “Cotton-Silk”หรือผ้าฝ้ายผสมโพลิเอสเตอร์โดยบริษัทผู้ผลิต ยังใช้เทคโนโลยีสะท้อนน้ำ ซึ่งมีอนุภาคเป็นระดับไมครอนสามารถแทรกเข้าไปเนื้อผ้า ไม่ให้โมเลกุลของน้ำแทรกเข้าไปในเนื้อผ้า มีความปลอดภัยเมื่อสัมผัสผิวหนังโดยตรง ลักษณะของหน้ากากจะเป็นการนำเนื้อผ้าสองชิ้นมาประกบติดกัน2 ชั้นแรก ทำมาจากผ้าชนิดเดียวกับที่ใช้ผลิตชุดปฏิบัติการทางการแพทย์ มีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ ป้องกันไรฝุ่น และไวรัสที่มากับสารคัดหลั่งจากผู้อื่น โดยมีผ้าฝ้ายรองด้านหลังชั้นในสุดที่สัมผัสกับผู้ใช้งาน เป็นผ้าฝ้ายที่ซึมซับสารคัดหลั่ง ป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

ทดสอบคุณสมบัติการสะท้อนของน้ำของหน้ากากผ้าTHAMMASK
ทดสอบคุณสมบัติการสะท้อนของน้ำของหน้ากากผ้า THAMMASK

“ที่สำคัญมีจีบ 3 ชั้น ป้องกันเชื้อโรคย้อนกลับไปสู่ผู้สวมใส่ ส่วนการพัฒนาในอนาคตจะมีการทดลองด้วยการนำฟิวเตอร์หรือแผ่นกรอง PM2.5 สำหรับกรองฝุ่นมาใส่ตรงกลางอีกชั้น เพื่อใช้สำหรับเป็นหน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 ขณะนี้ทางคณะทำงาน กำลังอยู่ในระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งาน และความคงทนของเส้นใย ว่ายังคงประสิทธิภาพเดิมหรือไม่ เมื่อนำไปซักด้วยเครื่องซักผ้ามาตรฐานทั่วไป ซึ่งตามที่บริษัทผู้ผลิตระบุ บอกว่าสามารถซักซ้ำได้ 20-30 ครั้ง แต่จากการทดสอบจริงพบว่าซักที่แตกต่างกัน การใช้น้ำยาที่แตกต่างกันย่อมมีผลต่อเส้นใยของผ้าจำเป็นต้องรอการทดสอบว่าจำนวนครั้งที่ผู้ผลิตระบุต้องซักด้วยวิธีการใดและส่งผลต่อประสิทธิภาพการกันน้ำของผ้าขนาดไหน เบื้องต้นขณะนี้จากการทดสอบการซักทำความสะอาดซ้ำทำได้อย่างน้อย 5 ครั้ง คาดว่าภายในสัปดาห์นี้น่าจะทราบผลทดสอบว่าสามารถนำไปซักทำความสะอาดเพื่อนำมาใช้ซ้ำได้จำนวนกี่ครั้ง” ธนิกากล่าว

สำหรับต้นทุนการผลิตหน้ากากทางเลือกหนึ่งชิ้นจะอยู่ที่ 25 – 30 บาท หากเทียบกับการนำไปซักและนำกลับมาใช้ซ้ำ จำนวนต่ำสุดที่ 5 ครั้ง เฉลี่ยตกครั้งละ 2-3 บาท ส่วนการนำไปใช้เบื้องต้นจะนำไปทดลองใช้ที่โรงพยาบาลศูนย์ธรรมศาสตร์ฯ ใช้สำหรับการตรวจทั่วไปหรือใช้กับเจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ที่ประจำตามจุดคัดกรองต่างๆไม่สามารถใช้ภายในห้องผ่าตัดได้

หน้ากากผ้า THAMMASK

ในขั้นตอนนี้ตั้งเป้าจะผลิตออกมาทดลองใช้ 1,000 ชิ้นเพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ในสังกัด ไม่ได้มุ่งหวังทำเพื่อการพาณิชย์และหากภาครัฐสนใจที่จะเข้ามาร่วมทำการผลิตกับทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ยินดี ส่วนภาคประชาชนที่สนใจจะนำผ้ามาทำหน้ากากอนามัยทดแทนหน้ากากอนามัยที่ขาดแคลนนั้นทางมหาวิทยาลัยยินดีที่จะสอนวิธีการทำให้ตามความเหมาะสมต่อไป


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save