มจธ. ชนะเลิศเวที ASEAN Energy Awards 2020 ประเภทพลังงานหมุนเวียน


รางวัล ASEAN Renewable Energy Projects Awards 2020 (Renewable Energy Awards) ประเภท Special Submission รางวัลระดับ Winner
การติดตั้งทดสอบที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล

ชุดกังหันกระแสน้ำผลิตไฟฟ้านวัตกรรมทั่วถึง (Inclusive Innovation of Hydrokinetic Turbine) พัฒนาโดย ผศ.ดร.อุสาห์ บุญบำรุง และคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้รับรางวัลชนะเลิศ ASEAN Renewable Energy Projects Awards 2020 ด้านพลังงานทดแทน (Renewable Energy Awards) ประเภทพลังงานหมุนเวียน (Special Submission) จากเวที ASEAN Energy Awards 2020 โดยศูนย์พลังงานอาเซียน (ASEAN Centre for Energy: ACE)

Hydrokinetic Turbine

ชุดกังหันกระแสน้ำผลิตไฟฟ้า (Hydrokinetic turbine) ออกแบบให้มีพิกัดกำลังไฟฟ้าที่เพียงพอสำหรับการใช้งานของครอบครัวในชนบท ประสิทธิภาพสูงเทียบเท่ากับกังหันนำเข้าจากต่างประเทศ ขณะที่ราคาต่ำกว่า ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมทั่วถึง (Inclusive innovation) รองรับการใช้งานในหลากหลายภูมิประเทศ ครอบคลุมถึงการใช้งานในลำธารและในทะเล

ผศ. ดร.อุสาห์ บุญบำรุง หัวหน้าโครงการ สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มจธ. กล่าวว่า ขั้นตอนการวิจัยเริ่มต้นจากการใช้อัลกอริทึมทางคณิตศาสตร์ในการหาขนาดและรูปทรงของใบพัดที่เหมาะสมที่สุด โดยอาศัยหลักการถ่ายโอนพลังงานและแผนภูมิความเร็ว จากนั้นใช้วิธีการคำนวณพลศาสตร์ของไหลช่วยในการจำลอง วิเคราะห์สนามความเร็ว การกระจายความดัน และประสิทธิภาพเชิงกลศาสตร์การไหลของชุดกังหันน้ำ ก่อนสร้างขึ้นรูปด้วยโดยกระบวนการพิมพ์ 3 มิติ และการหล่อขึ้นรูปด้วยอะลูมิเนียม ติดตั้งทดสอบในห้องปฏิบัติการ และติดติดตั้งทดสอบภาคสนามที่บ้านโป่งลึกบางกลอย จังหวัดเพชรบุรี และอุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล

ทดสอบที่ห้องปฏิบัติการ

ผลการติดตั้งทดสอบชุดกังหันกระแสน้ำขนาดเล็กนวัตกรรมทั่วถึงสำหรับการผลิตไฟฟ้าในชนบทขนาด 500 วัตต์ จำนวน 2 ชุด รวมพิกัดกำลังผลิตไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ ที่ความเร็วกระแสน้ำ 2 เมตร/วินาที ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 30,000 บาท/ชุด หรือคิดเป็น 60 บาท/วัตต์ พบว่าอัตราพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากชุดกังหันกระแสน้ำอยู่ที่ 3.52 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง ซึ่งช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนที่ห่างไกลให้มีไฟฟ้าเพียงพอต่อการทำงานและใช้ชีวิตประจำวัน และเข้าใจประโยชน์การใช้พลังงานทดแทน ซึ่งสามารถลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าประมาณ 2,628 ลิตร/ปี ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเครื่องปั่นไฟที่ใช้น้ำมันดีเซล 7.212 ตัน/ปี หนึ่งในก๊าซเรือนกระจกสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ผลงานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ ใน SDG 7 AFFORDABLE AND CLEAN ENERGY (พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้) อีกตัวอย่างผลงานวิจัยของ มจธ. ที่ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ทดสอบที่ห้องปฏิบัติการ
ติดตั้งทดสอบที่บ้านโป่งลึก-บางกลอย จังหวัดเพชรบุรี
ติดตั้งอุทยานแห่งชาตทะเลตะรุเตา จังหวัดสตูล

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save