สวทช.จับมือ จุฬาฯ – กลาโหม ตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านแบตเตอรี่ล้ำสมัย เพื่อความมั่นคงด้านวัตถุดิบ


สวทช.จับมือ จุฬาฯ - กลาโหม ตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านแบตเตอรี่ล้ำสมัย เพื่อความมั่นคงด้านวัตถุดิบ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมมือกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม กระทรวงกลาโหม (กห.) ร่วมลงนามความร่วมมือ “โครงการจัดตั้งและดำเนินการศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมแบตเตอรี่ล้ำสมัยที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศเพื่อความมั่นคง” เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการวิจัยนวัตกรรมแบตเตอรี่ที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศเพื่อความมั่นคงแบบสหสาขาวิชา และเป็นศูนย์กลางในเครือข่ายงานวิจัยนวัตกรรมแบตเตอรี่ที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศเพื่อความมั่นคงร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงระบบผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ ล้วนต้องการเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูง และมีอายุการใช้งานอย่างยาวนาน แบตเตอรี่เป็นเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานประเภทหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นเทคโนโลยีที่อยู่บนฐานของวัสดุประเภทลิเธียม (Li) อันเป็นวัตถุดิบที่มีอยู่จำกัดและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

ดังนั้น ในภาวะไม่ปกติ ภาวะฉุกเฉิน หรือเกิดสงคราม ประเทศไทยอาจจะประสบปัญหาความมั่นคงด้านพลังงานได้ ทีมวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่ที่อยู่บนฐานของการใช้วัสดุซึ่งมีอยู่มากในประเทศไทย เพื่อสร้างนวัตกรรมการพัฒนาแบตเตอรี่ประเภทใหม่ๆ และยังส่งเสริมให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคตด้วย

“การลงนามในครั้งนี้จะช่วยสร้างความร่วมมือระหว่าง 3 หนวยงานในการร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างแบตเตอรี่ที่มีศักยภาพใช้ในอนาคตต่อไป” ศ.ดร.บัณฑิต กล่าว

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ความร่วมมือในครัั้งนี้จะช่วยพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งร่วมกันขับเคลื่อนให้เป็นศูนย์กลางเครือข่ายวิจัยนวัตกรรมแบตเตอรี่ที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศ ลดการพึ่งพาวัตถุดิบและการนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงลดการสูญเสียเงินตรา นอกจากนี้ ยังมีโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแบตเตอรี่ร่วมกัน ตลอดจนร่วมกันพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมแบตเตอรี่ที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศ รวมถึงแบตเตอรี่ที่มีความปลอดภัยสูง เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ

พลโท คงชีพ ตันตระวาณิชย์ ผู้แทน เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม กระทรวงกลาโหม

พลโท คงชีพ ตันตระวาณิชย์ ผู้แทน เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม กระทรวงกลาโหม กล่าวว่า สืบเนื่องจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้อนุมัติยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2560 – 2579 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้กำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศของ กห. ที่สำคัญ คือ การเร่งรัดพัฒนาเครือข่ายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ โดยมุ่งแสวงหาความร่วมมือกับเครือข่ายด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ กห. กับ หน่วยงานด้านการศึกษา ด้านการวิจัยและพัฒนาและภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เพื่อให้มีเครือข่ายที่เกื้อกูลการดำเนินงานซึ่งกันและกัน จนสามารถพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการพึ่งพาตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม

“สวทช. ได้มีหนังสือประสาน วท.กห. ขอจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการจัดตั้งและดำเนินการศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมแบตเตอรี่ล้ำสมัย ที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศเพื่อความมั่นคง โดยความร่วมมือระหว่าง สวทช. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กห. เพื่อร่วมกันวิจัยและพัฒนา รวมถึงพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย และบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านนวัตกรรมแบตเตอรี่ ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของกองทัพ โดยให้มีการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมแบตเตอรี่ล้ำสมัยฯ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” พลโท คงชีพ กล่าว

พลเอก นภนต์ สร้างสมวงษ์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม

ด้าน พลเอก นภนต์ สร้างสมวงษ์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า รัฐบาลมุ่งเน้นการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรม เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการสนับสนุนอุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ ให้สามารถผลิตได้เองเพื่อลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ และสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมส่งออกได้ต่อไป

รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า การร่วมวิจัยครั้งนี้ประชาชนจะได้รับประโยชน์ในเรื่องการพัฒนาแบตเตอรี่ฝีมือคนไทย ที่จะมีความปลอดภัย มีเสถียรภาพในราคาที่ไม่แพงจับต้องได้จากการร่วมพัฒนาของทั้ง 3 หน่วยงานและต่อยอดการพัฒนาในด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องในอนาคต


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save