ทางรอดธุรกิจร้านอาหาร SME ไทยในยุค COVID-19 สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ – ใช้เทคโนโลยีให้เป็น


ธุรกิจร้านอาหารถือเป็นธุรกิจปราบเซียน แม้จะเป็นธุรกิจหอมหวานชวนให้ผู้คนกระโจนเข้ามาเล่นง่าย กลายเป็นตลาด Red Ocean ที่มีผู้เล่นจำนวนมาก แต่กลับหาธุรกิจที่อยู่รอด มียอดขายโตต่อเนื่อง เป็นตัวจริงในวงการได้ยาก โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ COVID -19 รุมเร้า ธุรกิจอาหารกลายเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ต้องเผชิญความยากลำบากมากที่สุด

         ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้เผยผลการประเมินผลกระทบจากการระบาดของ COVID -19 ที่มีต่อธุรกิจร้านอาหารในปีพ.ศ.2564 คาดว่ามูลค่าธุรกิจร้านอาหารจะหดตัว 5.6 เปอร์เซ็นต์ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหารที่เป็นกลุ่ม SMEs ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศกว่า 80% ที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจนต้องปิดตัวลงหรือหันไปพึ่งพาแหล่งเงินทุนหมุนเวียนภายนอก เห็นได้ชัดจากการที่มียอดคงค้างสินเชื่อเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว

LINE ในฐานะแพลตฟอร์มดิจิทัลชั้นนำในประเทศไทย พร้อมเดินหน้าผลักดันให้ทุกกลุ่มธุรกิจเดินหน้าต่อได้ท่ามกลางวิกฤต นำเสนอแนวคิดและแนวทางให้ผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร SME ไทย สามารถสร้างยอดขาย เดินหน้าฝ่าวิกฤตครั้งนี้ต่อไปได้ ด้วย 2 แนวคิดสำคัญในการทำธุรกิจออนไลน์ คือ การสร้าง Content Marketing ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างตัวตน เรื่องราวของแบรนด์บนโลกออนไลน์ และการรู้จักใช้แพลตฟอร์ม เทคโนโลยีอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีตัวอย่างความสำเร็จของการสร้างแบรนด์ สร้างยอดขาย โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยหลักจาก 2 แบรนด์ดัง หวังช่วยจุดประกายไอเดียให้ธุรกิจร้านอาหาร SME ไทยได้สู้ต่อไปได้เพื่อผ่านพ้นวิกฤตใหญ่และเติบโตต่อได้อย่างยั่งยืน

สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ ด้วยการทำ Content Marketing

เมื่อร้านอาหารเกือบทั่วประเทศไทย ต้องเจอกับมาตรการการปิดหน้าร้านออฟไลน์ การเร่งสร้างแบรนด์ สร้างร้านอาหารให้มีตัวตนบนโลกออนไลน์จึงเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้อีกต่อไป อาริยะ คำภิโล ผู้ก่อตั้งร้านอาหารเพื่อสุขภาพ Jones’ Salad ได้ให้คำแนะนำสำหรับแบรนด์ SME โดยเฉพาะสายธุรกิจอาหาร ที่ต้องการสร้างธุรกิจในโลกออนไลน์ ในรายการ SME Biz Talk ว่า การจะทำ Content Marketing ให้ได้ดี ต้องเริ่มต้นจากการเอาตัวตนของธุรกิจเป็นตัวตั้ง เช่น ร้านอาหารสุขภาพ ก็ควรเน้นให้ความรู้ นำข้อมูลสุขภาพมาเสนอด้วย ไม่ใช่สื่อสารแต่สินค้าเพื่อขายอย่างเดียว การเอางานวิจัยหรือบทความที่อ่านแล้วเข้าใจยาก มีความซับซ้อน หรืออัพเดทสถานการณ์ต่างๆ มาทำเป็นการ์ตูน หรืออินโฟกราฟิกให้ลูกค้าเราเข้าใจง่าย เพื่อสร้างการรับรู้ในตัวแบรนด์และความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่อง เป็นหลักเริ่มต้นง่ายๆ ที่แบรนด์ตนเองได้เริ่มทำตั้งแต่ก่อนเจอวิกฤต พร้อมสร้างคาแรคเตอร์ “ลุงโจนส์” มาเป็นตัวละครหลักในการเล่าเรื่องเพื่อให้เป็นภาพจำกลับมาสู่แบรนด์ ไม่ว่าคอนเทนต์จะเป็นเรื่องใดก็ตาม

“การเซ็ตแนวทางคอนเทนต์ไว้ตั้งแต่เริ่มต้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เจ้าของธุรกิจควรออกแบบแนวทางของเนื้อหาและคาแรคเตอร์ให้สอดคล้องกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมายที่แบรนด์ต้องการขายสินค้าตั้งแต่แรก และต้องไม่ขัดแย้งกับสินค้าบริการและตัวตนของแบรนด์ ซึ่งคอนเทนต์ที่ดีต้องสร้างการรับรู้ (Brand Awareness) ไปพร้อมกับทำให้ลูกค้าเข้าใจคุณค่าของแบรนด์ (Brand Value) ทำให้แบรนด์มีความน่าเชื่อถือได้ในที่สุด”  อาริยะ กล่าว

 

 ใส่ใจรายละเอียดทุกขั้นตอนให้ความสำคัญกับข้อมูล

แบรนด์ฟีนิกซ์ ลาวา (Phoenix Lava) แบรนด์ขนมแห่งการให้ ดำเนินธุรกิจมานานกว่า 8 ปี เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่เริ่มต้นธุรกิจด้วยการรู้จักสร้างคอนเซ็ปต์ให้แบรนด์ตนเองตั้งแต่เริ่ม ทำให้แบรนด์มีตัวตน ภาพจำที่โดดเด่นกว่าแบรนด์ทั่วไป โดยชูคอนเซปต์การเป็น “ร้านขนมแห่งการให้” ที่ลูกค้าสามารถซื้อไปฝากคนอื่นได้ กลายเป็นปรัชญาทางธุรกิจทั้งผู้ให้และผู้รับมีความสุข โดยใส่ใจทุกรายละเอียดตั้งแต่คุณภาพของวัตถุดิบและการออกแบบ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของสินค้าภายใต้ชุดความคิด “ผู้ให้” สู่กลุ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดี

ปริญญ์ สุขสมิทธิ์ ผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ดังกล่าว เล่าเพิ่มเติมในรายการ SME Biz Talk Season 2  ว่า นอกจากการสร้างคอนเซ็ปต์ ใส่ใจรายละเอียดทุกขั้นตอนแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการดำเนินธุรกิจต่อไปอย่างยั่งยืน คือ การให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูล (DATA) เพื่อมาวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย ทั้งจากพนักงานหน้าร้าน เครื่อง POS หน้าร้าน และผ่านแพลตฟอร์ม เทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงจากการแชท โดยเฉพาะเมื่อยามหน้าร้านจำกัดการให้บริการ เพื่อให้เราเข้าใจลูกค้ามากขึ้น และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ แพคเกจ ไปจนถึงบริการบนโลกออนไลน์ให้โดนใจ สร้างยอดขายได้ ลูกค้านึกถึงแบรนด์ตลอดเมื่อต้องการซื้อ

เรียนรู้การใช้งานเครื่องมือและฟีเจอร์ให้ครบ เพื่อใช้เทคโนโลยีให้คุ้มค่า

ปริญญ์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการต้องมองให้ขาดว่าโซเชียลมีเดียแต่ละตัวมีบทบาทต่างกัน ส่วนใหญ่จะทำหน้าที่เป็นเหมือนป้ายโฆษณาที่สร้างการรับรู้ แต่ด้วยเสน่ห์ของการแชท เราใช้ LINE Official Account เป็นช่องทางหลักในการปิดการขายและเก็บฟีดแบคจากกลุ่มลูกค้า โดยงเรียนรู้เทคนิคการใช้ฟีเจอร์ต่างๆ ภายในให้ครบ เพื่อจะได้ใช้เทคโนโลยีให้คุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นจากหน้าแสดงผลข้อมูลเชิงลึก (Insight) ในระบบ LINE OA ไปจนถึงการแชทพูดคุยกับแอดมินร้านที่มีฟีเจอร์ช่วยจำต่างๆ มากมาย ทำให้เราเก็บข้อมูลได้เยอะและครบถ้วน

จากการเก็บข้อมูลจาก LINE OA แบรนด์พบว่ากลุ่มลูกค้าหลักคือผู้หญิงวัยทำงานที่มักซื้อฝากครอบครัว คนรอบข้าง ส่งผลต่อมาถึงการพัฒนาแพคเกจให้เหมาะสมโดนใจ รวมทั้งกลุ่มลูกค้าที่คิดถึงความเป็นญี่ปุ่น ก็ให้แบรนด์พัฒนาสินค้าใหม่พร้อมเรื่องราวมาตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มนี้ด้วยเช่นกัน

“สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันสำหรับการให้บริการโดยเฉพาะบนโลกออนไลน์คือ การมองในมุมมองลูกค้าเป็นสำคัญ ลูกค้าที่แอด LINE OA มาส่วนใหญ่คือเป็นกลุ่มที่มีความตั้งใจในการซื้ออยู่ระดับหนึ่งแล้ว สิ่งที่เราต้องทำคือให้ข้อมูลสินค้า ปิดการขายด้วยประสบการณ์ที่ดีที่สุด ถึงจะทำให้ลูกค้าอยู่กับ LINE OA  เราต่อไป ไม่บล็อกช่องทางนี้ เช่น ลูกค้าแอดเรามาเพราะอยากรู้หรือมีปัญหาอะไร สิ่งเหล่านี้ควรอยู่ใน Greeting message หรือ Rich Menu ให้เห็นตั้งแต่วินาทีแรก ในยามที่ลูกค้ามาดูเมนูที่หน้าร้านไม่ได้ ก็ควรสร้างเมนูอาหารไว้ในหน้า Timeline เพื่อให้ลูกค้ากดดูเองได้ทันที ทันใจ รวมไปถึงการ Broadcast ที่เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ เลือกส่งข้อความที่เป็นประโยชน์ต่อคนเฉพาะกลุ่มที่สนใจ หรือการทำโปรโมชั่นพิเศษสื่อสารให้กับลูกค้าเฉพาะกลุ่มแตกต่างกันระหว่างลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ เป็นต้น” ปริญญ์ กล่าว

จะเห็นได้ว่ารูปแบบการตลาดในตอนนี้เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อถึงคราวจำเป็นต้องปรับตัวสู่โลกออนไลน์ ร้านอาหารต้องปรับกลยุทธ์ สร้างเรื่องราว ตัวตนของแบรนด์ตนเองให้ดี พร้อมใช้เครื่องมือดิจิทัลให้เป็น ด้วยเสน่ห์แห่งแชทคอมเมิร์ซ LINE Official Account จึงถือเป็นช่องทางสำคัญในการปิดการขายและเก็บข้อมูลเพื่อเดินหน้าธุรกิจ โดย LINE หวังว่าธุรกิจอาหาร SME ไทยจะเริ่มเรียนรู้ ปรับตัวอย่างจริงจัง เพื่อเดินหน้าธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ และพร้อมที่จะเติบโตสู่เส้นทางความสำเร็จในอนาคต


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save