นายกฯ เยี่ยมชมผลงานวิจัย “การพัฒนาต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้าในโครงการ City Transit E-Buses ผลงาน อว. ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร


นายกฯ เยี่ยมชมผลงานวิจัย “การพัฒนาต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้าในโครงการ City Transit E-Buses ผลงาน อว. ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร

กรุงเทพฯ–29 กันยายน 2563 : พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เยี่ยมชมผลงานวิจัย“การพัฒนาต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้าโครงการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าจากรถโดยสารประจำทางใช้แล้วของขสมก. (City Transit E-buses)” ซึ่งเป็นผลงานวิจัยและพัฒนาของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เครือข่ายพันธมิตรที่ครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐทั้งหน่วยงานวิจัย สถาบันการศึกษา ทดสอบ หน่วยงานกำกับดูแลมาตรฐาน การจดทะเบียน การใช้งาน นโยบายส่งเสริม และเอกชนผู้ร่วมพัฒนา ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาโครงการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าจากรถโดยสารประจำทางใช้แล้วขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยในการออกแบบและผลิตรถโดยสารไฟฟ้าที่สามารถจดทะเบียนเพื่อใช้งานกับกรมการขนส่งทางบก ได้อย่างถูกต้อง และพร้อมสำหรับการผลิตในระดับอุตสาหกรรม จำนวน 4 รายการณตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

โครงการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าจากรถโดยสารประจำทางใช้แล้วของขสมก. (City Transit E-buses)”

โดยมี ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้การต้อนรับ พร้อมด้วยผู้บริหารสวทช. กฟน. กฟภ. กฟผ. ขสมก.และกลุ่มผู้ประกอบการไทยผู้ร่วมพัฒนาเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมรถโดยสารไฟฟ้าซึ่งพัฒนาโดยผู้ประกอบการไทย ภายใต้การให้คำปรึกษา จากนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โครงการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าจากรถโดยสารประจำทางใช้แล้วของ ขสมก. (City Transit E-buses) ดำเนินการในลักษณะภาคีเครือข่าย (Consortium) การพัฒนาอุตสาหกรรมรถโดยสารไฟฟ้าไทย ร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย ประกอบไปด้วยสมาชิกจาก กระทรวง อว. โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สถาบันยานยนต์ (สยย.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งจราจร กรมการขนส่งทางบก (สนข.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (TAPMA) มีเป้าหมายในการยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยให้สามารถผลิตรถโดยสารไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นรถโดยสารประจำทาง และเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับรถโดยสารประจำทางเก่าที่ปลดอายุการใช้งานแล้ว โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กฟน. กฟภ. กฟผ. ขสมก. สวทช.และได้รับรถโดยสารประจำทางที่ปลดอายุการใช้งานแล้วจำนวน 4 คันที่จะส่งมอบให้ผู้ประกอบการไทยที่ได้รับคัดเลือกจำนวน 4 รายนำไปปรับปรุงให้เป็นรถโดยสารไฟฟ้า

โครงการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าจากรถโดยสารประจำทางใช้แล้วของขสมก. (City Transit E-buses)”

ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการให้คำปรึกษาทางเทคโนโลยีผ่านกลไกการสนับสนุนที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) สวทช.ได้แก่ 1.บริษัทพานทอง กลการ จำกัด 2.บริษัท โชคนำชัย-ไฮเทคเพลสซิ่ง จำกัด 3.บริษัท รถไฟฟ้า ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)และ 4.บริษัท สบายมอเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด

นอกจากนี้ภาคีเครือข่ายฯ ยังได้สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาสนามทดสอบน้ำท่วมขังร่วมกับ มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี เพื่อประเมินประสิทธิภาพของรถในขณะขับขี่ในพื้นที่น้ำท่วมขังเพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการใช้รถโดยสารไฟฟ้า และอยู่ระหว่างการจัดทำบทวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้า จากรถโดยสารประจำทางใช้แล้ว ขสมก. โดย สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

โครงการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าจากรถโดยสารประจำทางใช้แล้วของขสมก. (City Transit E-buses)”

สวทช. โดยทีมวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้พัฒนาตู้อัดประจุไฟฟ้าจำนวน 2 ตู้ติดตั้งที่เขตการเดินรถที่ 1 ของ ขสมก. เพื่อให้รถทั้ง 4 คัน ได้ทำการอัดประจุขณะทดลองวิ่งเป็นรถโดยสารประจำทางสาย 543ก (อู่บางเขน-ท่าน้ำนนท์) เป็นระยะเวลา 6สัปดาห์ นอกจากนี้ ทีมวิจัยจาก สวทช. ยังร่วมให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาการออกแบบ และประกอบรถโดยสารไฟฟ้าแก่ผู้ประกอบการ และทีมวิจัยอยู่ระหว่างดำเนินการนำรถทั้ง 4 คันไปทดสอบสมรรถนะ และวิเคราะห์คุณลักษณะ สมรรถภาพตามข้อกำหนดคุณลักษณะทางวิศวกรรมเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการนำไปใช้งาน และสามารถจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกอย่างถูกต้องต่อไป

สำหรับคุณลักษณะขั้นต่ำที่รถโดยสารทั้ง 4 คัน มีคือ ระยะเวลาในการประจุไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 2 – 3 ชั่วโมง ระยะทางที่วิ่งได้ต่อการประจุไฟฟ้าเฉลี่ย 160 – 250 กิโลเมตรต่อการประจุไฟฟ้า และความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง 80 – 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นต้นโดยจะมีคุณลักษณะเด่นของรถโดยสารไฟฟ้าที่ได้รับการพัฒนาจากทั้ง 4 บริษัทดังนี้

  1. รถโดยสารไฟฟ้าขนาด 12 เมตร จากบริษัท พานทอง กลการ จำกัด พัฒนาโดยใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ 60% มีองค์ความรู้ ระบบควบคุมการทำงานของรถโดยสารไฟฟ้า (Vehicle Control Unit : VCU) และระบบจัดการการประจุไฟฟ้า (On-board charger) จากทีมผู้พัฒนาในประเทศไทย ทำให้สามารถออกแบบระบบที่สามารถปรับแต่ง และปรับปรุงให้ใช้งานในสภาวะที่หลากหลายได้
  2. รถโดยสารไฟฟ้าขนาด 12 เมตร จากบริษัท โชคนำชัย-ไฮเทคเพลสซิ่ง จำกัดพัฒนาโดยใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ 40% ใช้ตัวถังอลูมิเนียม มีความพิเศษอยู่ที่โครงสร้างน้ำหนักเบาแข็งแกร่ง ผลิตจาก Aluminum เกรดสูง ทนการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี ทำให้ตัวรถมีน้ำหนักเบา ประหยัดพลังงาน และทำการผลิตในแบบการผลิตแบบอุตสาหกรรมยานยนต์ที่สามารถรองรับการผลิตแบบ Mass production ได้
  3. รถโดยสารไฟฟ้าขนาด 12 เมตรจากบริษัท รถไฟฟ้า ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)พัฒนาโดยใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ 40% พัฒนาบนความร่วมมือกับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าทั้งจากภายในและต่างประเทศ มีความพร้อมในการรับประกันรถจากความร่วมมือกับผู้ผลิตชิ้นส่วน จะเห็นได้จากระยะเวลาในการรับประกัน โดยเฉพาะชุดแบตเตอรี่ที่ให้มากถึง 5 ปี หรือ 200,000 กิโลเมตร อีกทั้งยังมีการออกแบบระบบการขับเคลื่อนให้สามารถขับขี่ได้ 3 โหมด ได้แก่ 1.โหมดประหยัดพลังงาน (Eco mode) 2.โหมดธรรมดา (Standard Mode) 3.โหมดสปอร์ต (Sport Mode) และรองรับการประจุไฟฟ้าทั้งแบบเร็วและแบบธรรมดา
  4. รถโดยสารไฟฟ้าขนาด 12 เมตร จากบริษัท สบายมอเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด (SMT)พัฒนาโดยใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ 50% ชุดอุปกรณ์ขับเคลื่อนไฟฟ้า ที่เคยทำงานร่วมกันบนรถโดยสารไฟฟ้ามาแล้ว ด้วยการทดสอบใช้งานบนสภาวะการขับขี่จริง ระยะทางกว่า 25,000 กิโลเมตร สร้างความเชื่อมั่นและแสดงถึงความเข้ากันได้ในการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ ทั้งในเชิงประสิทธิภาพการทำงานและความปลอดภัย

โครงการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าจากรถโดยสารประจำทางใช้แล้วของขสมก. (City Transit E-buses)”

อย่างไรก็ตาม รถโดยสารไฟฟ้าทั้ง 4 บริษัทนี้ จะทำให้ต้นทุนในการเปลี่ยนจากรถโดยสารประจำทางใช้แล้ว ขสมก. เป็นรถโดยสารไฟฟ้าเฉลี่ยคันละ 7 ล้านบาท ขณะที่การนำเข้ารถโดยสารไฟฟ้าจากต่างประเทศอยู่คันละ 12 – 14 ล้านบาท

ในปี พ.ศ. 2563 นี้ ผู้ประกอบการไทยทั้ง 4 ราย พร้อมแล้วที่จะผลิตรถโดยสารไฟฟ้า ในการให้บริการประชาชนทั้งในรูปแบบรถโดยสารประจำทาง หรือไม่ประจำทาง เพื่อให้คนไทยได้ร่วมกันภาคภูมิใจในความสามารถของคนไทย ควบคู่ไปกับการสร้างรายได้ให้กับคนในประเทศ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save