ซินโครตรอนต่อยอด “ห้องความดันลบ” จับมือ ฮุก 31 พัฒนารถตู้ความดันลบพาผู้ป่วย COVID-19 กลับบ้าน


จากสถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ระบาดสูงจนมีเตียงรองรับไม่เพียงพอ จึงเกิดแนวทางนำผู้ป่วยจากพื้นที่เสี่ยงกลับภูมิลำเนา ซึ่งรถรับส่งผู้ป่วยนั้นต้องออกแบบให้สามารถสร้างความปลอดภัยและป้องกันการติดเชื้อแก่คนขับด้วย สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ต่อยอดประสบการณ์สร้างห้องความดันลบเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ มาดัดแปลงรถตู้ธรรมดาให้กลายเป็นรถรับส่งผู้ป่วยความดันลบ ด้วยต้นทุนเพียง 30,000 – 50,000 บาท

นครราชสีมา: สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ร่วมมือกับมูลนิธิพุทธธรรม 31 นครราชสีมา ดัดแปลงรถตู้โดยสารขนาด 9 ที่นั่ง ให้เป็น “รถตู้โดยสารความดันลบ” เพื่อรับส่งผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ที่มีอาการเพียงเล็กน้อยและยังไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจให้กลับไปรักษาตัวที่ภูมิลำเนา ทำให้ทางมูลนิธิฯ ซึ่งมีหน่วยกู้ภัยฮุก 31 นครราชสีมา สามารถรับผู้ป่วยจากพื้นที่เสี่ยงกลับภูมิลำเนาได้มากขึ้น

พิสิษฐ์ พงษ์ศิริศุภกุล เลขาธิการมูลนิธิพุทธธรรม 31 นครราชสีมา กล่าวว่า รถตู้โดยสารความดันลบคันนี้เป็นรถต้นแบบคันแรก และสามารถเปิดเครื่องปรับอากาศเพื่อความเย็นสบายแก่ผู้ป่วยระหว่างเดินทาง จึงเพิ่มเที่ยวในช่วงกลางวันได้ และจากเดิมลำเลียงผู้ป่วยได้เที่ยวละ 4 คน เพิ่มขึ้นเป็นเที่ยวละ 9 คน ทำให้จำนวนรอบในการรับส่งผู้ป่วยลดลง คนขับจึงเหนื่อยล้าน้อยลง ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และมีความปลอดภัยในการเดินทางมากขึ้น หากสถานการณ์การแพร่ระบาดยังคงรุนแรง ทางมูลนิธิฯ ยังมีรถตู้ที่พร้อมดัดแปลงเป็นรถตู้โดยสารความดันลบทั้งหมด 4 คัน

ด้านเกริกฤทธิ์ สิทธิศาสตร์ วิศวกรเครื่องกลสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า รถตู้โดยสารความดันลบนี้ประยุกต์จากการพัฒนาและสร้างห้องแยกโรคความดันลบ สำหรับโรงพยาบาลสนาม ที่สถาบันฯ ได้ต่อยอดจากความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสุญญากาศ เทคโนโลยีระบบควบคุมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยดัดแปลงรถตู้โดยสารพร้อมออกแบบให้มีการปิดกั้นแยกห้องระหว่างคนขับและผู้โดยสารเพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส และห้องผู้โดยสารติดตั้งระบบดูดอากาศผ่านแผ่นกรอง HEPA filter ที่ใต้เบาะผู้โดยสารด้านหลัง เพื่อให้มีความดันต่ำกว่าความดันบรรยากาศและป้องกันเชื้อไวรัสกระจายสู่ภายนอก โดยใช้ต้นทุนในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ประมาณ 30,000 – 50,000 บาท

กก่อนหน้านี้ สถาบันฯ ได้นำความเชี่ยวชาญที่สั่งสมมากว่า 20 ปี ทางด้านเทคโนโลยีสุญญากาศ เทคโนโลยีระบบควบคุมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง มาพัฒนาและสร้างห้องแยกโรคความดันลบสำหรับโรงพยาบาลสนาม และตู้สำหรับตรวจและคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อแบบความดันบวก และได้มอบให้แก่โรงพยาบาลและหน่วยงานที่ต้องการ อาทิ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และเรือนจำกลางคลองไผ่ จ.นครราชสีมา


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save