ขจัด 4Cs ปิดจุดเสี่ยงธุรกิจยุคดิจิทัล


ขจัด 4Cs ปิดจุดเสี่ยงธุรกิจยุคดิจิทัล

จากสถานการณ์วิกฤต COVID -19 ที่ยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าจะจบลงเมื่อใด กลายเป็นแรงกดดันให้ทุกคนและทุกองค์กรต้องเปลี่ยนผ่านตัวเองสู่ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็วเพื่อความอยู่รอด…แต่ใช่ว่าจะทำได้อย่างราบรื่น เพราะการปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจท่ามกลางสภาพแวดล้อมไอทีใหม่ ๆ เช่น คลาวด์ เอดจ์คอมพิวติ้ง เวอร์ช่วลไลเซชัน คอนเทนเนอร์ ไมโครเซอร์วิส เป็นต้น ทำให้หลายองค์กรต้องเผชิญกับความเสี่ยงระหว่างช่องว่างของการเปลี่ยนผ่าน (Transformation Gap) โดยความเสี่ยงที่ว่า ได้แก่ Cost (ต้นทุน) Cyber (ภัยคุกคาม) Cloud (คลาวด์) และ Compliance (กฎระเบียบ) หรือ 4Cs นั่นเอง

 

Cost  ต้นทุนข้อมูล 

ว่ากันว่าต้นทุนสำคัญของธุรกิจยุคดิจิทัล คือ ข้อมูล ซึ่งจริงที่สุด ปัจจุบัน องค์กรส่วนใหญ่ต้องปวดหัวกับปัญหาการจัดการข้อมูล แอปพลิเคชัน และบริการที่ทำงานภายใต้สถาปัตยกรรมไอทีแบบ Virtualization อาทิ Virtual Machine การใช้งานในแบบ on-prem หรือคลาวด์ประเภทต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่ง Gartner คาดว่า จากนี้จนถึงปีพ.ศ.2567 องค์กรธุรกิจมากกว่า 80% มีแนวโน้มใช้จ่ายงบประมาณที่มากขึ้นโดยเฉลี่ย 20-50% ไปกับจัดหาโซลูชันเพื่อ Protect ข้อมูลเหล่านี้ที่มีอาจอยู่ในหลากหลายแหล่ง ทำให้งบประมาณในการบริหารจัดการใช้มากขึ้น

ทางออก คือ ข้อมูลในองค์กรจำเป็นต้องได้รับการ Protect อย่างครบถ้วย ดังนั้นเทคโนโลยี Backup ต้องมีความสามารถในการจัดการกับข้อมูลทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นระบบงานแบบ Virtualization, Physical, Cloud และ โดยเฉพาะองค์กรที่มีการนำ DevOps มาใช้ในการพัฒนาและส่งมอบแอปพลิเคชัน แพลตฟอร์มบริการ หรือการบริหารจัดการปริมาณงานต่าง ๆ อาทิ Openstack, Docker, Kubernetes เป็นต้น อีกทั้งต้องมีความสามารถในการสำรองที่รวดเร็ว และประหยัดพื้นที่ในการใช้งาน

 

Cyber  ปัญหาไซเบอร์ 

การโจมตีของ Ransomware ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นเป็น 715% ในปีพ.ศ.2563 ส่งผลให้ 38% ขององค์กรที่โดนโจมตีเกิดการชะงักงันของระบบเป็นเวลานาน 5 วัน หรือมากกว่า และมีบางองค์กรไม่ได้ทำการ Protect ข้อมูลตามกฎ 3-2-1  (การสำรองข้อมูล 3 ชุดบนอุปกรณ์จัดเก็บที่แยกจากกัน 2 ประเภท และแยก 1 ชุดเก็บต่างสถานที่กัน) รวมถึงการการกู้คืนเพื่อนำ Business ทั้งหมดกลับมาทั้งหมดยังมีความยุ่งยาก และไม่ตอบโจทย์ SLA ในการกู้คืน

ทางออก  คือ ระบบป้องกันภัยคุกคามแบบอุปกรณ์ 1 ชนิด ต่อ 1 ปัญหาภัยคุกคาม  (Pointed Products) ไม่ตอบโจทย์ต่อสถานการณ์ปัจจุบัน การสร้างมาตรฐานความปลอดภัยข้อมูลด้วย “แพลตฟอร์ม” หนึ่งเดียวในรูปแบบ Data Services Platform แต่ครอบคลุมทั่วทั้งระบบกลับให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ทุกองค์กรตามหาคือ แพลตฟอร์มป้องกันภัยที่มีความยืดหยุ่นสูง (Resiliency) ที่พร้อมใช้งาน (Availability) ชนิด 24×7 วัน โดยไม่ต้องกลัวการชะงักงันของระบบ การปกป้องและกู้คืนข้อมูล (Protection) ได้ทุกสเกล และการวิเคราะห์เจาะลึก (Insight) ถึงทุกข้อมูลและทุกอินฟราสตรัคเจอร์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการต้นทุนรวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านข้อมูลต่าง ๆ นอกจากนี้ ต้องตอบโจทย์การทำงานสอดคล้องกับเทคโนโลยีปัจจุบัน อาทิ เอดจ์คอมพิวติ้ง ระบบงานหลักขององค์กร (Core) ระบบแบบ on-prem และคลาวด์  สามารถบูรณาการการทำงานแบบ API driven เพื่อเชื่อมการทำงานของแอปพลิเคชนหรือโมดูลต่าง ๆ ได้อัตโนมัติ หรือ รองรับความปลอดภัยให้กับการทำงานที่ค่อนข้างไดนามิคอย่างคูเบอร์เนเตสได้ เป็นต้น 

 

Cloud การจัดการคลาวด์ 

นับวันองค์กรธุรกิจเริ่มมองแผนกลยุทธ์ที่ผสมผสานการทำงานแบบมัลติคลาวด์มากขึ้น ซึ่งจำเป็นที่ต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้เกิดการใช้งานข้ามไปมาระหว่างคลาวด์แต่ละประเภท

ทางออก  คือ การใช้เครื่องมือ Data Protection ที่สามารถรองรับการทำงานร่วมกับทุกประเภทของ Worklaod ไม่ว่าจะเป็น Physical, Virtualization, Private Cloud, Cloud, และ Hybrid Cloud ด้วยการบริหารจัดการแบบมาตราฐาน เข้ามาช่วยเสริมความปลอดภัยเมื่อต้องมีการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชัน ฐานข้อมูล และอินฟราสตรัคเจอร์ขึ้นไปอยุ่บนคลาวด์ประเภทใดก็ได้ ค่ายใดก็ได้ โดยทำหน้าที่ตั้งแต่การคัดแยกข้อมูลที่จำเป็นในการย้ายขึ้นสู่คลาวด์ผ่านเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลเพื่อส่งผ่านไปยังคลาวด์ในจุดต่าง ๆ ที่ควรประหยัดได้ทั้งแบนด์วิธ เนื้อที่ในการจัดเก็บ และต้นทุนดำเนินการ

 

Compliance  กฎของข้อมูล 

การ์ทเนอร์ กล่าวว่า ในปีพ.ศ.2566 ข้อมูลส่วนบุคคลของประชากรโลกกว่า 65% จะได้รับการดูแลโดยกฎระเบียบด้านความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าที่มีในปัจจุบันอย่างน้อย 10%  ดังนั้น องค์กรต้องหมั่นติดตามและเตรียมพร้อมไว้เสมอ โดยเฉพาะจำนวนข้อมูลที่จะเพิ่มมากขึ้นบนรูปแบบการใช้งานคลาวด์แบบไฮบริด อีกทั้งการเก็บรักษาข้อมูลให้ตรงตาม Compliance จะเป็นเรื่องยากและวุ่นวายมากขึ้นในการบริหารจัดการ

ทางออก คือ เครื่องมือวิเคราะห์ในอนาคต ตัวอย่างเช่น Aptare Script โดยเวอร์ริทัส จะต้องมีมุมมองที่หลากหลายและเจาะลึกถึงพฤติกรรมการใช้งานข้อมูลทุกประเภทในทุกอินฟราสตัคเจอร์ และทุกอุปกรณ์จัดเก็บและสำรองข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น Virtualization, on-prem, Hybrid Cloud หรือ Multi Cloud รวมถึงการจัดระเบียบข้อมูลให้ถูกต้องตรงตามกฎการคุ้มครองข้อมูลและมาตรฐานด้านการบริการ (SLA Compliance) ต่าง ๆ เป็นต้น

การรู้เท่าทัน 4 จุดเสี่ยงในโลกยุดดิจิทัล นับเป็นข้อได้เปรียบสำคัญที่ต่อยอดสู่การวางนโยบายและกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีและการดำเนินธุรกิจที่แข็งแกร่งยิ่งกว่าในอนาคต

นครินทร์ เทียนประทีป ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ยิบอินซอย จำกัด


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save