การผสานรวมของโลก IT และเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ (OT) ในภาคการผลิต: โซลูชันแห่งอนาคตที่ต้องเริ่มวันนี้


สถานการณ์ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต และรายได้ของกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วโลก อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน สภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ทำให้ การคาดการณ์ล่วงหน้าทำได้ในช่วงระยะสั้น และบริษัทต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยน และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองต่อแนวโน้ม และความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป

แม้จะมีความไม่แน่นอนในปีที่ผ่านมา แต่สิ่งที่เห็นในปี 2564 และนับจากนี้ คือ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต มีการนำ IoT สำหรับภาคอุตสาหกรรม หรือ Industrial Internet of Things (IIoT) มาใช้งานเพิ่มมากขึ้น 

 

หลังเกิดโรคระบาด ภาคอุตสาหกรรมการผลิตคาดว่าจะยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ สำหรับเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัทอุตสาหกรรมกำลังนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ ซึ่งช่วยให้สามารถปรับใช้แอปพลิเคชันและบริการใหม่ได้อย่างรวดเร็ว และปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพการทำงานเพื่อให้มีความคล่องตัว การ์ทเนอร์ คาดการณ์ว่าภายในปี 2568 องค์กร 50% จะใช้แพลตฟอร์ม IIoT พร้อมกับมีการใช้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเพิ่มมากขึ้น เพื่อรับข้อมูลจากจุดต่างๆ ในเครือข่าย และปรับปรุงการดำเนินงานของโรงงาน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ซึ่งมีเพียง 10% ที่นำ IIoT มาใช้งาน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีการเติบโต และไทยพร้อมที่จะเป็นผู้เล่นหลักในภูมิภาคนี้

 

ภาคอุตสาหกรรมของไทยมีการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันในเดือนเมษายนที่ผ่านมา และสถานการณ์ในอนาคตของตลาดยังคงดูสดใส อีกทั้งยังมีการสนับสนุนจากภาครัฐที่ช่วยดูแลการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งช่วยผลักดันให้ไทยก้าวเดินออกห่างจากอุตสาหกรรมดั้งเดิมไปสู่อุตสาหกรรมขั้นสูงหรือระบบอัจฉริยะ ความตั้งใจในการเสริมศักยภาพให้กับผู้ผลิตเห็นได้ชัดจากงาน Manufacturing Expo 2022 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบรรดาผู้เล่นรายสำคัญในอุตสาหกรรม และโซลูชันดิจิทัลที่มีการนำมาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตให้ดียิ่งขึ้น 

 

ติดปีกด้วยเครื่องมือดิจิทัล 

สถานการณ์โรคระบาดครั้งใหญ่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบดิจิทัล ดังนั้น ผู้ผลิตในประเทศไทย จึงควรมองหาโอกาสในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

เพื่อแก้ไขปัญหาผลิตภาพระดับต่ำและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของตนเองในฐานะโรงงานระดับโลก อีกทั้งยังควรใช้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างเหมาะสม เพื่อให้สะท้อนถึงรายละเอียดที่นำไปปฏิบัติได้จริงในธุรกิจ ในด้านการปรับปรุงกระบวนการของภาคการผลิตให้ดีที่สุด 

จากการสำรวจของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อปี 2563 คาดการณ์ว่าฮาร์ดแวร์และสมาร์ทดีไวซ์ของไทยจะเติบโต 4.40% คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 286,448 ล้านบาท ปัจจัยหลักของการเติบโตมาจากมีโครงการต่างๆ ดำเนินการอยู่ รวมถึงการวางแผนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และความพร้อมสำหรับหลัง COVID-19 นวัตกรรมเกี่ยวกับ IoT และระบบอัตโนมัติ รวมถึงเทคโนโลยีหุ่นยนต์ถูกนำมาใช้มากขึ้นในโรงงานแทนที่แรงงานต่างชาติ และงานอื่น ๆ ที่แรงงานไทยปฏิเสธ

 

การที่ข้อมูลได้กลายเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงองค์กรและเป็นรากฐานแห่งวิวัฒนาการของภาคการผลิต ดังนั้น ผู้ผลิตจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบดิจิทัลได้อีกต่อไป ข้อมูลยังช่วยให้ซัพพลายเชนภาคอุตสาหกรรมที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงแบบดั้งเดิมได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบที่เชื่อมต่อกันอย่างมีพลวัต ทำให้ผู้ผลิตสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพเชิงปฏิบัติการให้ดีขึ้นและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน อีกทั้งการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวยังนำมาซึ่งการผสานรวมของโลก IT และ OT เพื่อประสิทธิภาพที่เหนือกว่าเดิมอีกระดับ 

 

การผสานรวมของโลกเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ (OT) ที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบดิจิทัล

การผสานรวมของระบบ IT และ OT ในภาคการผลิตไม่ใช่แนวคิดใหม่ที่จริงมีการพูดถึงแนวโน้มดังกล่าวย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2011 และที่จริงในทุกวันนี้ ผู้ดูแลระบบ IT ในบริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต้องรับมือกับเรื่อง OT มากกว่าที่เคยเป็นมา 

 

บทบาทของทีมงานด้าน IT และ OT ในองค์กรเหล่านี้ได้เติบโตขึ้น ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องการตรวจสอบระบบอีเทอร์เน็ตภาคอุตสาหกรรมไปจนถึงการดูแลโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับด้าน OT ให้ทำงานได้ตามปกติ อีกทั้งขอบเขตด้าน IT และ OT ก็มีความเกี่ยวข้องกันมากขึ้น มีการส่งข้อมูลจากโรงงานไปยังระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) หรือระบบคลาวด์ ภายใต้ความท้าทายที่ว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ทั้งสองทีมสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น แม้จะมีจุดแข็ง มุมมอง องค์ความรู้ และงานที่ให้ความสำคัญแตกต่างกันไป

 

ทีมงานด้าน IT มักให้ความสำคัญกับข้อมูลธุรกิจและการอัปเดตให้ทันเทคโนโลยี ขณะที่ทีมงานด้าน OT มักมองถึงประสิทธิภาพของภาคการผลิตและความยั่งยืนในกระบวนการ การตามหาจุดสมดุลที่ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจจึงเป็นเรื่องยาก และก้าวต่อไปที่ควรดำเนินการก็คือ การทำให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจภาพรวมในกระบวนการทั้งหมด 

 

งานด้าน IT และ OT มีชุดเครื่องมือที่ต่างกันภายใต้มาตรฐานและโปรโตคอลจำนวนมากที่ไม่เหมือนกัน ปัญหาดังกล่าวจะทวีคูณในองค์กรขนาดใหญ่ที่อาจประกอบด้วยอุปกรณ์ด้าน IT และ OT ที่หลากหลายสถานที่จำนวนนับร้อยนับพันเครื่อง เพราะอาจหมายถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากปัญหาที่เล็ดรอดสายตาของทั้งสองทีม ดังนั้นระหว่างที่ผู้ผลิตต่างมุ่งมั่นให้การผสานความร่วมมือดำเนินไปอย่างราบรื่น ผู้ผลิตก็ควรพิจารณาถึงเทคโนโลยีที่จะช่วยดูแลกระบวนการทำงานทั้งหมดในฟากการผลิตโดย: 

 

1.การมอนิเตอร์ระบบ OT และโครงสร้างพื้นฐานภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เข้าใจสภาวะในโรงงานผ่านการสังเกตและการมอนิเตอร์อุปกรณ์พิเศษในฝั่ง OT เช่น

  • อุปกรณ์อีเทอร์เน็ตภาคอุตสาหกรรมอย่างเราเตอร์ สวิตช์ และไฟร์วอลล์
  • ตู้เก็บอุปกรณ์ภาคอุตสาหกรรมซึ่งใช้จัดเก็บอุปกรณ์และฮาร์ดแวร์
  • เกตเวย์ภาคอุตสาหกรรมซึ่งเชื่อมส่วนต่างๆ ที่มีการแปลงโปรโตคอล รวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน และถ่ายโอนไปยังปลายทางต่างๆ

2.การดูแลให้การทำงานของตัวควบคุมและระบบสั่งงานเป็นไปตามปกติ  การมอนิเตอร์ระบบโรงงานอย่าง SCADA และ MES    ตลอดจนการดูแลให้การทำงานเป็นไปตามปกติถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสถาปัตยกรรมเชิงอุตสาหกรรม เพราะหากระบบมีปัญหาก็อาจก่อความเสียหายคิดเป็นมูลค่ามหาศาลได้ในทันที 

 

3.การผสานข้อมูล OT ภายใต้แนวคิดการมอนิเตอร์ระบบ   ปิดจุดบอดในโครงสร้างระบบโดยการผสานรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ภายใต้เครื่องมือชิ้นเดียวซึ่งช่วยแสดงภาพรวมการทำงานขององค์ประกอบด้าน IT และ OT ได้ทุกส่วน 

 

เมื่อผู้ผลิตสามารถสังเกต ติดตาม จัดการ เข้าใจ และดำเนินการตามข้อมูลที่รวบรวมได้มา ก็จะสามารถขับเคลื่อนทิศทางของข้อมูลและกระบวนการด้วยบุคลากรและเครื่องมือที่เหมาะสมต่อไป ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของฝั่งใด จะอยู่รวมศูนย์หรือสุดปลายขอบ

ความสามารถในการมอนิเตอร์ระบบเครือข่ายซัพพลายแบบดิจิทัลทั้งหมดและการดูแลให้ระบบทำงานเป็นปกติ จะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง 

 

ดังนั้นในยามที่เราก้าวเดินสู่อนาคต นวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลในภาคอุตสาหกรรมถือเป็นสิ่งที่มีศักยภาพต่อการผลักดันให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิตบนเวทีโลก

โดย มร.เซบาสเตียน ครูเกอร์ รองประธาน Paessler ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save