สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดกลยุทธ์การขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ชาตินวัตกรรม “NIA Focal Conductor: Leading Thailand to Innovation Nation” ภายใต้แนวคิด Groom – Grant – Growth – Global พร้อมเปิดตัวทีมบริหารผู้ร่วมผลักดันระบบนวัตกรรมประเทศไทยให้เข้มแข็ง ทั้งมิติการสนับสนุนเงินทุน การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการนวัตกรรม การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม การสร้างระบบนวัตกรรมไทยและ Innovation Ecosystem และการปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเต็มรูปแบบ เพื่อปักหมุดเดินหน้าเสริมความแข็งแกร่งและสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการนวัตกรรมไทยสามารถเติบโตสู่การขยายผลการลงทุนทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ นำไปสู่การสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน
NIA กับบทบาทการขับเคลื่อนประเทศสู่ชาตินวัตกรรม ผ่านแนวคิด Groom – Grant – Growth – Global
ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า NIA เดินหน้าในบทบาท “ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม (Focal Conductor)” ในฐานะองค์กรที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมของประเทศ โดยมี Ecosystem และ Network ที่เข้มแข็ง พร้อมเชื่อมต่อการทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการนวัตกรรมในทุกมิติ พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างและส่งเสริมนวัตกรรมแห่งชาติ การสร้างโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม และการยกระดับทักษะความสามารถทางนวัตกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมี 5 เป้าหมายหลัก ได้แก่ 1. สร้างและเชื่อมโยงแพลตฟอร์มพัฒนา IBEs 2. สร้างนวัตกร และ IBEs ผ่าน NIA Academy 3. สร้างระบบนวัตกรรมไทยและระบบนิเวศนวัตกรรมให้เข็มแข็ง 4. ยกระดับนวัตกรรมไทยในดัชนีนวัตกรรมโลก และ 5. ปรับบทบาท NIA ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม โดยมุ่งเน้นใน 5 อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ กลุ่มเกษตร อาหาร และสมุนไพรมูลค่าสูง กลุ่มสุขภาพและการแพทย์ กลุ่มพลังงาน ยานยนต์ไฟฟ้า สิ่งแวดล้อม กลุ่มการท่องเที่ยว และกลุ่ม Soft power
สำหรับแนวคิด Groom – Grant – Growth ตลอดช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา NIA ได้พัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพทางนวัตกรรมโดยผ่าน NIA Academy ที่มีหลักสูตรร่วมกับพันธมิตรจากทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ฯลฯ โดยใช้แนวคิด Groom ในการพัฒนาผู้ประกอบการรายกลุ่ม ด้วยการส่งเสริมความสามารถของผู้ประกอบการ ผ่านหลักสูตรการเปิดค่ายนวัตกรรมสำหรับเยาวชนกว่า 5,736 คน ร่วมกับสถานศึกษากว่า 300 แห่ง และกิจกรรมส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นผ่านกิจกรรม StartUp อัพลีค แนวคิด Grant ในการสนับสนุนโครงการนวัตกรรมรายภูมิภาค เพื่อปรับกลไกการให้ทุนผ่าน Corporate Co-Funding เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีโอกาสเติบโตและขยายตลาดโดยการร่วมมือจากแหล่งทุนทั้งภาครัฐและเอกชน และแนวคิด Glowth เพื่อยกระดับให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดและต่อยอดการลงทุน ภายในปี 2570 รวมถึงการส่งเสริมและเผยแพร่ตัวอย่างความสำเร็จทางนวัตกรรมผ่านโครงการม้านิลมังกร ซึ่งปีนี้ต่อยอดเป็นนิลมังกร 10X ที่เน้นสร้างผู้ประกอบการนวัตกรรมคุณภาพสูงให้เข้าสู่ตลาดทุนโดยตั้งเป้ายอดขายไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทใน 3 ปี
“ปีนี้เราได้เปิดตัว Accelerator Programs ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มใหม่ ในการขับเคลื่อนระบบนวัตกรรมด้วยข้อมูล เพราะเราต้องการเดินหน้าลุยตลาดโลก เพื่อเน้นให้ธุรกิจ Start Up เข้มแข็ง พร้อมขยายผลจากแนวคิด Groom – Grant – Growth โดยเพิ่ม Global เพื่อมุ่งต่อยอดการส่งเสริมผู้ประกอบการนวัตกรรมให้สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น เกาหลี จีน ญี่ปุ่น และเยอรมัน ผ่านโครงการและความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรเพื่อขยายกลุ่มผู้ประกอบการนวัตกรรมที่มีศักยภาพให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น เร่งผลักดัน พรบ. สตาร์ทอัป ส่งเสริมให้เกิดร่วมลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ จากแหล่งเงินทุนทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงการสร้างเครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทยให้เข้มแข็งและพร้อมร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมไปกับ NIA โดยตั้งเป้าหมายในการผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นชาตินวัตกรรมที่ได้รับการยอมรับในเวทีโลก” กริชผกา กล่าว
แหล่งเงินทุนเพื่อการเติบโตของผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมอย่างยั่งยืน
ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ที่ผ่านมา NIA เร่งสร้างบริษัทนวัตกรรมให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น และผลักดันให้โครงสร้างธุรกิจมีความแข็งแกร่ง โดยมี “แหล่งเงินทุน” เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กลุ่ม SME Start Up วิสาหกิจเพื่อสังคม และวิสาหกิจชุมชนเข้าถึงได้ง่ายและได้รับการจัดสรรอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยในปีนี้ NIA ได้พัฒนากลไกการสนับสนุนเงินทุนรูปแบบใหม่ เพื่อเติมเต็มและตอบโจทย์การขยายผลธุรกิจนวัตกรรมให้เติบโตสามารถไปสู่ตลาดได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น ผ่านกลไกต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเติบโตได้ โดยแบ่งเป็น 2 กลไก คือ กลไกเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและรายย่อย เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาธุรกิจในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจสามารถสร้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น และกลไกด้านสังคม ผ่านผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม อันมีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มศักยภาพ และความสามารถในการแข่งขันของชุมชน ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ NIA ยังเปลี่ยนกลไกและหาจุดยืน เพื่อสะท้อนความเป็นจริงในการทำธุรกิจ เพื่อทุนที่หลากหลาย เพียงพอ และเหมาะสมต่อการดำเนินงานของธุรกิจนวัตกรรม ทั้งทุนได้เปล่า ทุนสนับสนุนสมทบบางส่วน ทุนแบบมีกำหนดเงื่อนไขการใช้คืน และการร่วมลงทุน ซึ่งในอีก 1-2 ปี ถัดไป เราจะร่วมลงทุนผ่านโปรแกรม NIA Venture พร้อมสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคมด้วย impact investment ที่จะเป็นเทรนด์ใหม่ในการให้ทุนที่หลากหลายและเพียงพอต่อผู้ประกอบการในทุกช่วงของการเติบโต แต่สิ่งที่เราขาดไม่ได้ก็คืองานบริหารโครงการผ่านการใช้เทคโนโลยี AI เพื่อลดระยะเวลาการทำงานให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ
สร้างสะพานเชื่อมผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดโลก พร้อมพัฒนากำลังคนสู่ความสำเร็จ
ปริวรรต วงษ์สำราญ รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม กล่าวว่า นอกจากการสนับสนุนด้านเงินทุนแล้ว NIA ยังมุ่งสนับสนุนด้านการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการนวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม เพื่อยกระดับผู้ประกอบการนวัตกรรมไทยสู่ตลาดสากลและสร้างสะพานในการส่งเสริมตลาดไทยสู่ตลาดโลก ผ่านแนวคิด ‘Local to Global’ โดยมี 3 เป้าหมายหลัก ได้แก่ 1. การสร้างความเข้มแข็งระบบนวัตกรรมระดับภูมิภาค โดยส่งเสริมการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรมทั้งด้านองค์ความรู้ทางด้านธุรกิจ เทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา โรงงานต้นแบบ การเงิน การลงทุน และการตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ ผ่านความร่วมมือกับอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ การสร้างย่านนวัตกกรรม และเมืองนวัตกรรม 2. การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทย ด้วยการสนับสนุนด้านทรัพยากรและการเชื่อมโยงกับตลาด โดยมุ่งเน้นส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่นและมีศักยภาพในการเติบโต ได้แก่ กลุ่มเกษตร อาหาร และสมุนไพร กลุ่มสุขภาพและการแพทย์ กลุ่มพลังงาน สิ่งแวดล้อม ยานยนต์ไฟฟ้า กลุ่มการท่องเที่ยว และกลุ่มซอร์ฟพาวเวอร์ ตลอดจนพัฒนากำลังคนเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรม ได้แก่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และ เซมิคอนดักเตอร์ และ 3. การส่งเสริมผู้ประกอบการนวัตกรรมไทยสู่ตลาดสากล สร้างโอกาสการขยายธุรกิจ และโอกาสการระดมทุน เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางนวัตกรรมและการแข่งขันของประเทศ ผ่านการเชื่อมตลาดระหว่างประเทศ การสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร และกิจกรรมจับคู่ธุรกิจในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ฟินแลนด์ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และฮ่องกง
การเปลี่ยนผ่านของระบบดิจิทัล
เพิ่มศักยภาพและสร้างประสบการณ์ให้บุคลากรเท่าทันโลกแห่งอนาคต
สุพิชญา หลิมตระกูล รองผู้อำนวยการด้านยุทธศาสตร์องค์กร กล่าวว่า ในยุคปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล หรือ Digital Transformation เป็นการเพิ่มโอกาสและศักยภาพการบริการผู้ประกอบการนวัตกรรมผ่านดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่ง NIA มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์การรับบริการและการทำงานของบุคลากรที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจสมัยใหม่และวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการปรับตัวทางดิจิทัลใน 5 ด้าน ได้แก่ 1. Digital Service เน้นสร้าง Digital Service Journey ควบคู่ Innovation Journey ผ่านโปรแกรม Groom – Grant – Growth ซึ่งจะแบ่งเป็นทั้งภายในองค์กร และผู้รับบริการภายนอก 2. Digital People เพื่อพัฒนาบุคลากรให้ทันต่อความเปลี่ยน Digital Literacy ให้เป็น Digital Competency โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก้าวสู่ AI Competency 3. Digital Connectivity เพื่อเชื่อมโยงการทำงานและการเข้าถึงบริการทุกที่ทุกเวลาเพื่อตอบโจทย์สังคมและวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ 4. Digital Compliance ยกระดับมาตรฐานและความปลอดภัยให้ทันสมัยตามแนวทางรัฐบาลดิจิทัล และ 5. Digital Data เป็นแพลตฟอร์มกลางข้อมูลด้านนวัตกรรมที่ยกระดับการใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อธุรกิจนวัตกรรม
“Next Step ต่อไปของ NIA คือ เราจะแก้พระราชกิจจาจัดตั้งสำนักงาน ในมาตรา 8 (6) ให้มีคำว่า “ถือหุ้น” ซึ่งหากมีคำนี้เราจะเป็น Holding Company ซึ่งปัจจุบันเราให้การศึกษาและพร้อมนำเข้าสู่บอร์ดในเร็ว ๆ นี้ เพื่อส่งเสริมกลไก Start Up และการ Funding ในเงินลงทุน พร้อมเป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงทุกคนเข้าด้วยกัน ภายใต้แนวคิด Groom – Grant – Growth – Global ในการนำนวัตกรรมไทยสู่ชาตินวัตกรรมอย่างยั่งยืน” ดร.กริชผกา กล่าวทิ้งท้าย