สุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประจำประเทศไทย เร้ดแฮท ผู้นำด้านเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์ส กล่าวว่า โอเพ่นซอร์สเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยในการทำ Digital Transformation.โดยบริษัทฯ จะทำงานร่วมกับลูกค้าเพื่อเสริมแกร่งให้ธุรกิจด้าน Finance ให้มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวสู่ดิจิทัล ทั้งนี้ Google Southeast Asia Digital Economy Report 2022 ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยจะมีมูลค่า 53 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2025 ซึ่งเพิ่มขึ้น 35 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2023
เทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สช่วยสนับสนุนรูปแบบธุรกิจและการทำงานใหม่ๆ โดย 80% ของผู้นำด้านไอทีในเอเชียแปซิฟิกจะใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สในการจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ AI และ Machine Learning IoT (Internet of Things) และContainer ในองค์กร
สำหรับธนาคารออมสิน (GSB) และ CIMB Thai Bank เป็น 2 บริษัทด้านธุรกิจ Finance ที่เลือกใช้เทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สของเร้ดแฮทในการ Transform ธุรกิจสู่ดิจิทัล โดยธนาคารออมสิน (GSB) ได้รับรางวัล Red Hat Innovation Awards ประจำปี 2020สาขาการพัฒนาคลาวด์-เนทีฟ ส่วน CIMB Thai Bank ได้รับรางวัลRed Hat Innovation Awards ประจำปี 2022สาขาDigital Transformation และ Hybrid Cloud Infrastructure
บุญสน เจนชัยมหกุล รองผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารออมสิน (GSB) กล่าวว่า ธนาคารออมสิน (GSB) เป็นรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินธุรกิจด้านสถาบันการเงิน มีสาขา 1,060 แห่งทั่วประเทศ และให้บริการลูกค้ามากกว่า 22 ล้านราย กลุ่มลูกค้าของธนาคารประกอบด้วยลูกค้าบุคคล องค์กรธุรกิจ และภาครัฐ ให้สามารถเข้าถึงบริการด้านการเงินที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและเสริมสร้างโอกาสในอนาคตให้กับคนไทย ธนาคารให้บริการทางดิจิทัลที่หลากหลาย เช่น การสอบถามยอดเงินคงเหลือในบัญชี การโอนเงินระหว่างธนาคารด้วยการใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือ และการชำระค่าบริการต่าง ๆ ด้วยการใช้บาร์โค้ดผ่านแอปพลิเคชันอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง และโมบายแบงค์กิ้ง
ทั้งนี้ GSB มีพันธกิจที่จะสร้างความเท่าเทียมและลดความเหลื่อมล้ำของสังคม จำเป็นต้องเร่งให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ของธนาคารออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น เพื่อลดเวลาและระยะทางในการเดินทางมาสาขา ซึ่งในต่างจังหวัด ระยะทางที่ลูกค้าต้องเดินทางมาสาขามากกว่า 30 กิโลเมตร ซึ่งจะต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพียงอย่างเดียว เพื่อตอบโจทย์ความสนใจของลูกค้าที่มีต่อบริการด้านการเงินในรูปแบบดิจิทัลที่ต้องมีความปลอดภัยในการใช้งาน ดังนั้นธนาคารฯ จึงได้ริเริ่มพัฒนาแพลตฟอร์มโอเพ่นแบงค์กิ้งที่สามารถโฮสต์ APIs ของตนเอง และให้บริการด้านการบริหารจัดการ (Managed Services) ให้กับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งรัดกุมโดยได้ย้ายระบบของธนาคารไปใช้โอเพ่นซอร์สที่ทำงานอยู่บน Red Hat Enterprise Linux, Red Hat Application Runtimes, Red Hat 3Scale API Management, Red Hat JBoss Fuse และ Red Hat OpenShift ด้วยความร่วมมือและช่วยเหลือทางด้านเทคนิคจาก Red Hat Consulting การใช้ APIs ที่มีขนาดเล็กลงด้วยไมโครเซอร์วิส การที่ทีมพัฒนาและทีมปฏิบัติการ (DevOps) และเทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ต่าง ๆ ทำงานอยู่บนสภาพแวดล้อมเดียวกัน เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจเป็นอัตโนมัติ และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทำงาน ช่วยให้ GSB สามารถบริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเปิดตัวบริการดิจิทัลแบงค์กิ้งใหม่ ๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า ส่งบริการใหม่สู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว และมีความคล่องตัวทางธุรกิจ GSB สามารถให้บริการที่มีคุณภาพระดับพรีเมียมผ่านการใช้แพลตฟอร์มที่ทันสมัยเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้แก่ลูกค้าของธนาคาร
“GSB มองเร้ดแฮทเป็น Partner เพราะเร้ดแฮทมีศักยภาพด้าน Open Source ที่ดีที่สุด เราใช้แพลตฟอร์มขอเร้ดแฮทมากมาย โดยมุ่งเน้นเรื่อง APIs และการปรับตัวให้เร็ว (Micro Service)” บุญสน กล่าว
ด้านสถาปนิก สีพรม ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยีดิจิทัล ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMB Thai Bank กล่าวว่า ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของประเทศไทย
ธนาคารฯ มีวิสัยทัศน์ในการเป็นธนาคารดิจิทัลระดับแนวหน้าในอาเซียน และมุ่งมั่นสร้างองค์กรให้เป็นธนาคารที่มีสมรรถนะสูงอย่างยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างความก้าวล้ำให้ลูกค้าและสังคม ผ่านบริการทางการเงินที่ดีที่สุดในแต่ละด้าน ผ่านความแข็งแกร่งของเครือข่ายของธนาคารในอาเซียน ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ในการเป็นธนาคารดิจิทัลระดับแนวหน้าและตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ทำธุรกรรมผ่านดิจิทัลจำนวนมาก ธนาคารฯ จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาบริการต่าง ๆ ในรูปแบบธนาคารดิจิทัล เช่น การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-payments) และบริการโอนเงินระหว่างธนาคาร เป็นต้น ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของธนาคารฯ จำเป็นต้องมีวงจรในการพัฒนาให้รวดเร็วขึ้น รองรับปริมาณเวิร์กโหลดที่มากขึ้น เพื่อให้สามารถสร้างและปรับขนาดแอปพลิเคชันใหม่ ๆ และส่งแอปพลิเคชันเหล่านี้ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น ธนาคารฯ จึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องนำแพลตฟอร์มใหม่ด้านธนาคารดิจิทัลมาใช้ โดย Red Hat OpenShift และ Red Hat OpenShift on AWS (ROSA) เป็นโซลูชันด้านโอเพ่นซอร์สแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้บริการด้านธุรกรรมการเงินของธนาคารมีความคล่องตัว ปรับขนาดการทำงานได้ตามต้องการ และมีความยืดหยุ่น สามารถรองรับปริมาณงานพัฒนาแอปพลิเคชันจำนวนมากทั้งบนระบบคลาวด์และในระบบภายในองค์กรได้
โซลูชันดังกล่าว ช่วยให้ธนาคารฯ สามารถทำการพัฒนาและส่งมอบแอปพลิเคชัน รวมทั้งบริการด้านธนาคารดิจิทัลใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น ซึ่งส่งผลถึงการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการดูแลต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างฟังก์ชั่นทางธุรกิจในรูปแบบดิจิทัลได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น ทั้งยังได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่โซลูชันด้านโอเพ่นซอร์สมีให้อีกด้วย
“ Security ไม่รู้จบ เราป้องกันแบบ Re-active แต่คนโจมตี Pro-active ธนาคารทุกแห่งมองเป็น First Priority อยากให้ลูกค้ามั่นใจในระดับหนึ่ง เพราะเราติดตามเรื่องนี้ทุกวัน” สถาปนิก กล่าว
“จากความสำเร็จของลูกค้าซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นและพร้อมที่จะก้าวต่อไป ขณะเดียวกันยังเป็นจุดเริ่มต้นให้ลูกค้ารายใหม่ๆ กล้าที่จะเดินตาม เนื่องจากเป็นประสบการณ์จากลูกค้ารายใหญ่ นอกจากกลุ่มธุรกิจ Finance ซึ่งเป็นกลุ่มแรกๆที่นำ Open Source ของเร้ดแฮทไปใช้ในการ Transform ธุรกิจสู่ดิจิทัลแล้ว ยังมีกลุ่ม Telecommunication จาก 3 ค่ายยักษ์ใหญ่ที่นำ Open Source ไปขับเคลื่อนธุรกิจดิจิทัลด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้เป็นลูกค้าหลักของเร้ดแฮท เมื่อมีตัวอย่างของความสำเร็จ ในปีนี้น่าจะมีอีกหลายธุรกิจ ซึ่งเดิมที
อาจจะยังไม่กล้าลงทุนเข้ามาลงทุนมากขึ้น เช่น Public Sector ภาครัฐ ซึ่งจะทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลมี Impactต่อประชาชนมากขึ้น ทั้งนี้เร้ดแฮทต้องการเป็น Partner ของลูกค้าในการ Transform ธุรกิจสู่ดิจิทัล” สุพรรณี กล่าวทิ้งท้าย