ผลงานเทคโนโลยีสแกนวัตถุ 3 มิติ ประเมินสภาพโบราณสถานวัดหลังคาขาว โดยนศ.มจธ.คว้ารางวัลงานวิจัยเด่นจาก สกสว.


ผลงานเทคโนโลยีสแกนวัตถุ 3 มิติ ประเมินสภาพโบราณสถานวัดหลังคาขาว โดยนศ.มจธ.คว้ารางวัลงานวิจัยเด่นจาก สกสว.

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุ 3 มิติ และวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อการประเมินและติดตามสภาพโครงสร้างโบราณสถานของไทย กรณีศึกษาวัดหลังคาขาว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับการคัดเลือกเป็น “งานวิจัยเด่น” 1 ใน 25 ผลงาน และได้รับรางวัลชมเชยประเภทความนิยมด้านผลงานวิจัยและความนิยมด้านการนำเสนอจากกลุ่มงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรมจากผลงานทั้งสิ้น 221 ผลงาน ในงานการประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา สกสว. ประจำปี 2562

พีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชั

พีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชัย นักศึกษาปริญญาเอกภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้รับทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยมี ผศ.ดร.ชัยณรงค์ อธิสกุล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา กล่าวว่า ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการประเมินสภาพโบราณสถานของประเทศไทยที่วัดหลังคาขาว ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงลึกด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดยนำเทคโนโลยีการสแกนวัตถุ 3 มิติ มาใช้ในการหาขนาดมิติและรูปทรงเจดีย์วัดหลังคาขาว โดยเครื่องสแกนวัตถุ 3 มิติ จะหมุนรอบตัวเอง 360 องศา เมื่อพบวัตถุจะสะท้อนกลับมาเป็นข้อมูลกลุ่มจุด ที่จะสามารถต่อเป็นกลุ่มข้อมูลพิกัด 3 มิติ ได้ โดยข้อมูลที่ได้เทียบเท่ากับขนาดจริงและมีความแม่นยำสูง ทำให้ทราบขนาดความสูง ความกว้าง ความหนา ด้านในและด้านนอกของเจดีย์ เพื่อนำมาประเมินผล นอกจากนั้นยังเก็บตัวอย่างของอิฐก่อและปูนก่อโบราณ เพื่อมาทดสอบในห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมโยธาอีกด้วย

เครื่องสแกนวัตถุ 3 มิติ ด้วยแสงเลเซอร์
เครื่องสแกนวัตถุ 3 มิติ ด้วยแสงเลเซอร์

เมื่อได้ข้อมูลกลุ่มจุด 3 มิติ และข้อมูลสมบัติของวัสดุโบราณแล้ว จะนำมาประเมินด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ ทำให้สามารถบอกได้ว่าโบราณสถานมีการเอียงตัวในมุมที่โครงสร้างยังอยู่ในสภาวะที่มีเสถียรภาพหรือไม่ รวมถึงวัสดุมีค่ากำลังเพียงพอหรือไม่ เพื่อเป็นแนวทางให้กรมศิลปากรใช้ในการบูรณะโบราณสถาน การประเมินโบราณสถานวัดหลังคาขาว เป็นการพัฒนากระบวนการประเมินและติดตามสภาพโครงสร้าง อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้สำหรับการศึกษาโบราณสถานแห่งอื่น โดยติดตามสภาพโครงสร้างด้วยการเก็บซ้ำจากครั้งแรก 6 เดือน เพื่อให้ทราบว่าในระยะเวลา 6 เดือน โบราณสถานเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพื่อการคาดการณ์อนาคต

ตัวอย่างผลการวิเคราะห์เจดีย์โดยอาศัยวิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์
ตัวอย่างผลการวิเคราะห์เจดีย์โดยอาศัยวิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์
ชัยณรงค์ อธิสกุล
ผศ.ดร.ชัยณรงค์ อธิสกุล (ขวา) อาจารย์ที่ปรึกษา

“ที่ผ่านมาการประเมินสภาพโบราณสถานต้องใช้กำลังคน และการตั้งนั่งร้านในการเก็บข้อมูลที่สูง ซึ่งใช้เวลานานและงบประมาณมาก ด้วยเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาช่วยให้การประเมินสภาพโบราณสถาน ใช้ระยะเวลาเก็บข้อมูลลดลง ไม่ต้องตั้งนั่งร้าน ให้ความแม่นยำสูง นอกจากนี้ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้สามารถช่วยให้การประเมินและติดตามสภาพโบราณสถานของไทยตามหลักวิศวกรรมเกิดความยั่งยืน” พีรสิทธิ์ กล่าวสรุป

ภาพผลสแกนภายในโบราณสถาน
ภาพผลสแกนภายในโบราณสถาน


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save