ศ. ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร สมัยที่ 7


ศ. ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร สมัยที่ 7 “เดินหน้าปฏิรูปสภาวิชาชีพวิศวกร ยกระดับศักยภาพวิศวกรไทยให้แข่งขันได้ในระดับโลก”

“สภาวิศวกร” เป็นสภาวิชาชีพที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 เพื่อส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ส่งเสริมความสามัคคีและไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของสมาชิก ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ให้ถูกต้องตามมาตรฐานและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง พร้อมทั้งให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายและปัญหาด้านวิศวกรรมรวมทั้งทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เกี่ยวเนื่อง

ศ. ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร สมัยที่ 7 “เดินหน้าปฏิรูปสภาวิชาชีพวิศวกร ยกระดับศักยภาพวิศวกรไทยให้แข่งขันได้ในระดับโลก”
ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร สมัยที่ 7

ในโอกาสครบรอบ 20 ปีของการก่อตั้งสภาวิศวกรในปี พ.ศ. 2562 ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร สมัยที่ 7 ได้ประกาศวิสัยทัศน์ในการทำงานขับเคลื่อนสภาวิศวกรเดินหน้าปฏิรูปสภาวิชาชีพวิศวกรเพื่อยกระดับศักยภาพของวิศวกรไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับเวทีโลก โดยมีคณะกรรมการสภาวิศวกร สมัยที่ 7 เริ่มวาระการดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2562 ประกอบด้วย 1) ดร.ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ อุปนายกสภาวิศวกร คนที่ 1 2) รศ.สฤทธิ์เดช พัฒนเศรษฐพงษ์ อุปนายกสภาวิศวกร คนที่ 2 3) ดร.ประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการสภาวิศวกร 4) กิตติพงษ์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์ เหรัญญิกสภาวิศวกร 5) ผศ.ยุทธนา มหัจฉริยวงศ์ รองเลขาธิการสภาวิศวกร และ6) รศ. ดร.สุธา ขาวเธียร รองเหรัญญิกสภาวิศวกร

เดินหน้าปฏิรูปอย่างเร่งด่วน คำนึงถึงประโยชน์ประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร สมัยที่ 7 กล่าวว่า ในโอกาสที่ได้รับคัดเลือกให้เข้ารับตำแหน่งนายกสภาวิศวกร สมัยที่ 7 ซึ่งตรงกับวาระครบรอบ 20 ปี ของสภาวิศวกรในปี พ.ศ. 2562 นี้ ตนเองและคณะกรรมการสภาวิศวกรทุกคนมีความมุ่งมั่นในการที่จะขับเคลื่อนสมาชิกวิศวกรในสภาวิศวกรกว่า 300,000 คน ซึ่งครอบคลุมวิศวกรรมโยธา, วิศวกรรมเหมืองแร่, วิศวกรรมเครื่องกล, วิศวกรรมไฟฟ้า, วิศวกรรมอุตสาหการและอื่น ๆ หรือทำงานด้านวิศวกรรมและประกอบวิชาชีพอื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กันด้วย ทั้งที่เป็นคนรุ่นใหม่อายุเฉลี่ย 20-40 ปีและวิศวกรรุ่นบุกเบิกอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปบูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อยกระดับวิศวกรไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก เป็นที่พึ่งของประชาชน สังคม และประเทศ ในการให้คำตอบ คำแนะนำ และแนวทางป้องกันปัญหาทางด้านวิศวกรรมที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 เกิดขึ้นอย่างไร มีวิธีการป้องกันอย่างไรในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดในภาคเหนือ, ปัญหาการโทรคมนาคม การมาของ 5G ประเทศไทยพร้อมหรือยัง, ปัญหาการจราจร จะแก้ปัญหาการจราจรที่แออัดในกรุงเทพฯ และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ๆ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ต สงขลา ได้อย่างไร, ปัญหาน้ำท่วม มีการป้องกันอย่างเป็นระบบอย่างไรบ้าง, ปัญหาการก่อสร้างอาคารสูง ๆ มีการตรวจสอบการก่อสร้างในแต่ละปีอย่างไรบ้าง และโครงการภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับวิศวกร โดยเฉพาะโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งจะมีโครงการก่อสร้างขนาดต่าง ๆ ในพื้นที่จะมีวิศวกรจากต่างประเทศมาทำงานร่วมกับวิศวกรไทยในการก่อสร้าง ในการเชื่อมโครงข่ายทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยนั้นทางสภาวิศวกรมีความพร้อมในการเตรียมนำวิศวกรที่เป็นสมาชิกไปร่วมทำงานนี้มากน้อยเพียงใด เป็นต้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนรู้สึกปลอดภัยเมื่อเข้าอาศัยหรือใช้งานในอาคารที่วิศวกรเหล่านี้เป็นผู้ร่วมออกแบบ ควบคุมงาน ทั้งนี้อาคารหรือสินค้าที่ผลิตที่ออกแบบโดยวิศวกรไทยต้องมีมาตรฐานที่ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค

คณะกรรมการสภาวิศวกรชุดใหม่ สมัยที่ 7 ถ่ายรูปร่วมกัน
คณะกรรมการสภาวิศวกรชุดใหม่ สมัยที่ 7 ถ่ายรูปร่วมกัน

“ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่สภาวิศวกรต้องปฏิรูปอย่างเร่งด่วน โดยคำนึงถึงประโยชน์ประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ พร้อมที่จะเป็นที่พึ่งและให้ข้อเสนอแนะรัฐบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างสรรค์นวัตกรรม ผลิตผลฝีมือคนไทยใช้ในประเทศเพื่อลดการสั่งซื้อมาใช้งาน อีกทั้งนำส่งออกไปขายยังต่างประเทศเพื่อสร้างรายได้กลับเข้ามาได้มากขึ้น ที่สำคัญสภาวิศวกรจะทำหน้าที่อย่างเข้มข้นมากขึ้นในเรื่องการกลั่นกรองตรวจสอบวิศวกรที่เป็นสมาชิกสภาวิศวกรในสาขาวิชาชีพที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ อยู่ในขณะนี้ให้เป็นวิศวกรคุณภาพในการทำงาน เป็นคนเก่ง คนดี มีจรรยาบรรณ เชื่อถือได้ และพร้อมที่จะทำงานเพื่อพัฒนาประเทศไทยร่วมกับทุกภาคส่วนได้อย่างยั่งยืน”

ให้สภาวิศวกรเป็นที่พึ่งของประชาชน สังคม และประเทศชาติในทุก ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าวว่า การดำรงตำแหน่งนายกสภาวิศวกร สมัยที่ 7 มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2562-2565จะทำงานร่วมกับคณะกรรมการสภาวิศวกรที่มีความชำนาญในแต่ละด้านอย่างเต็มกำลังเพื่อผลักดันให้สภาวิศวกรเป็นที่พึ่งของประชาชน สังคม ประเทศได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้พร้อมที่จะเปิดรับทุกๆความคิดเห็นของเหล่าสมาชิกสภาวิศวกร หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และบุคคลภายนอกเพื่อนำมาปรับปรุง นำมาหาข้อเท็จจริงของประเด็นที่ส่งเข้ามาด้วยความห่วงใย นำมาหล่อหลอมหาเหตุแห่งปัญหาเพื่อให้เกิดปัญญา แก้ปัญหาในแต่ละประเด็นให้สามารถผ่านคลี่คลายอย่างไม่ก่อให้เกิดผลกระทบใด ๆ พร้อมทั้งจัดให้มีทีมวิศวกรอาสาที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำให้ข้อมูลที่ประชาชนทั่วไปมีข้อสงสัยที่เกี่ยวข้องกับทางวิศวกรรม ในแต่ละด้าน ทั้งที่โทรศัพท์เข้ามาสอบถาม ส่งคำถามข้อร้องทุกข์มายังสื่อออนไลน์ของทางสภาวิศวกรเพื่อให้สภาวิศวกรเป็นที่พึ่งของประชาชน สังคม และประเทศชาติในทุก ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้อง

คณะกรรมการสภาวิศวกรชุดใหม่ สมัยที่ 7

วางเป้าหมายร่วมมือกับมหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตรทันกระแสโลก สร้างวิศวกรรุ่นใหม่ป้อนตลาดแรงงานที่เปลี่ยนไป

สำหรับเป้าหมายในการทำงานในตำแหน่งนายกสภาวิศวกรสมัยที่ 7 นอกจากจะบูรณาการทำงานร่วมกับเหล่าสมาชิกสภาวิศวกรแล้ว สภาวิศวกรมีเป้าหมายและแนวคิดในการร่วมมือกับมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรมโลก เพื่อสร้างวิศวกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถในแต่ละด้านให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงาน เนื่องจากในขณะนี้ประเทศไทยขาดแคลนวิศวกรจำนวนมากโดยเฉพาะวิศวกรไฟฟ้า การก่อสร้าง โยธา ไฟฟ้า และอุตสาหการ พร้อมเสริมองค์ความรู้ทักษะหลากหลายรอบตัว สอนให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การใช้งานในประเทศได้

“เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศที่สามารถพัฒนาประเทศให้ก้าวกระโดดและสร้างความมั่นคงได้ ส่วนใหญ่แล้วมาจากวิศวกรในประเทศที่เป็นผู้วางรากฐานสร้างประเทศนั้น ๆ โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพราะฉะนั้นแล้ววิชาชีพวิศวกรนี้สำคัญอย่างยิ่งยวดในการที่จะสร้างเทคโนโลยี สามารถทำให้ประเทศไทยลดการพึ่งพาการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศและพลิกบทบาทสู่การเป็นประเทศผู้ผลิตนวัตกรรมและต่อยอดสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้”

อีกประการหนึ่งก็เพื่อเป็นแรงจูงใจในการให้นิสิตนักศึกษารุ่นใหม่ที่จะเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยหันมาสนใจสมัครเข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ให้มากขึ้น เพราะในปัจจุบันนี้ต้องยอมรับว่าได้รับความสนใจน้อยลงมากเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากปัญหาเรื่องค่าตอบแทนการประกอบวิชาชีพวิศวกรยังน้อยมากเมื่อเทียบกับสาขาวิชาชีพอื่น ๆ และการประกอบวิชาชีพวิศวกรมีความเสี่ยงภัย อีกทั้งเมื่อเทียบอัตราค่าตอบแทนของวิศวกรไทยที่จบใหม่กับวิศวกรประเทศญี่ปุ่นและจีนที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยแล้วยังมีอัตราค่าตอบแทนที่ต่างกันอยู่มาก

คณะกรรมการสภาวิศวกรชุดใหม่ สมัยที่ 7

ทั้งนี้สภาวิศวกรจะนำเรื่องนี้ประชุมหารือกับคณะกรรมการสภาวิศวกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนเรื่องค่าตอบแทนการประกอบวิชาชีพวิศวกรไทยให้เหมาะสมมากขึ้นเพราะวิศวกรเปรียบเสมือนผู้สร้างสรรค์งาน สร้างสรรค์นวัตกรรม และเป็นนักคิดที่มีเหตุมีผลและเพื่อสนองความต้องการของตลาดแรงงานให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ พร้อมส่งเสริมวิศวกรรุ่นใหม่ให้เรียนรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

โดยสภาวิศวกรจะเปิดหลักสูตรอบรมที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาตนเองให้ได้มากที่สุด พร้อมกันนี้จะทำงานประสานความร่วมมือกับรัฐบาลในการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมจากคู่สัญญาการค้าในแต่ละโครงการของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพวิศวกรเพื่อให้สมาชิกสภาวิศวกรมีโอกาสได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในแต่ละโครงการให้มากยิ่งขึ้น

“อยากฝากให้นิสิตนักศึกษาที่กำลังเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และวิศวกรรุ่นใหม่ที่เพิ่งเรียนจบหมั่นหาความรู้ทุกรูปแบบทั้งในขณะที่กำลังเรียนและในขณะที่ทำงาน โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากวิศวกรคนใดไม่มีองค์ความรู้ ไม่ติดตามการเปลี่ยนแปลงอาจจะพลาดโอกาสในการเข้าร่วมทำงานในโครงการสำคัญ ๆ ได้ ที่สำคัญคือวิศวกรต้องหมั่นฝึกพูด เขียน อ่าน และเข้าใจภาษาอังกฤษ เพราะวิศวกรไทยยังไม่ค่อยมีความชำนาญในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและทำงานร่วมกับวิศวกรชาวต่างชาติ” ศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าวทิ้งท้าย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save