ประเทศไทย – 17 พฤศจิกายน 2565 : บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท ผู้นำระดับโลกด้านหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหรือ โคบอท ประกาศจัดงานการประชุมหุ่นยนต์โคบอทที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ประเทศไทย ภายใต้ชื่องาน Collaborate APAC 2022 ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเต็ล อะ ลักชัวรี คอลเลคชั่น โฮเต็ล ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย
แนวคิดของงาน Collaborate APAC 2022 ในปีนี้ คือ “Redefining Automation to Stay Ahead of the Curve” หรือ “การพลิกโฉมระบบอัตโนมัติเพื่อความก้าวหน้ากว่าใคร” ซึ่งการประชุมภายในหนึ่งวันครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับแนวโน้มการผลิตหลังการเกิดโรคระบาดใหญ่ รวมถึงวิวัฒนาการของระบบอัตโนมัติที่กำลังเข้ามาเปลี่ยนอนาคตของการทำงาน นอกจากนี้ยังมีผู้นำในแวดวงอุตสาหกรรมที่จะเข้ามาร่วมแบ่งปันมุมมองของตลาดทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย
มาเธียส วิกลันด์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ (ซีซีโอ) บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท กล่าวว่า แนวโน้มของการนำระบบอัตโนมัติเข้ามาปรับใช้ในองค์กรกำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และเราเชื่อว่าไม่น่าจะมีเหตุผลใดที่จะชะลอการเติบโตดังกล่าวได้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในภาคส่วนของระบบอัตโนมัติได้สร้างโอกาสใหม่ให้กับองค์กรธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งเรามีความชัดเจนในเรื่องนี้มาโดยตลอด กล่าวคือเราต้องการสร้างโลกที่คนทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ได้ ไม่ใช่จำกัดเฉพาะแค่หุ่นยนต์เพียงอย่างเดียว หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานสามารถให้การสนับสนุน เสริมสร้างกำลังการผลิต และอยู่ร่วมกับแรงงานที่เป็นมนุษย์ได้อย่างเหมาะสมโดยที่ไม่ได้เข้ามาแทนที่มนุษย์แต่อย่างใด
ทั้งนี้ บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท จะจัดแสดงรูปแบบการใช้งานโคบอทจากยูอาร์พลัส ซึ่งเป็นระบบนิเวศของพันธมิตรและผู้รวมระบบเทคโนโลยีที่ได้รับการรับรอง พร้อมด้วยผลิตภัณฑ์และโซลูชันต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อผสานรวมเข้ากับหุ่นยนต์ได้อย่างราบรื่น เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะ
บรรดาผู้เข้าร่วมงานจะมีโอกาสได้สัมผัสแนวคิดและแนวทางใหม่เกี่ยวกับระบบอัตโนมัติที่เกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์อันสมบูรณ์แบบ ทั้งยังรับทราบถึงรายละเอียดเชิงลึกของความสำเร็จในการใช้งานโคบอทสำหรับสายงานด้านการประกอบชิ้นส่วน การจ่ายหรือหยอดของเหลว การขัดเงาพื้นผิว การทำงานร่วมกับเครื่องจักร การจัดการวัสดุ การกำจัดวัสดุ การตรวจสอบคุณภาพ การวางพาเลท การเชื่อม และอื่นๆ อีกมากมาย
ภายในงานยังจัดแสดงให้เห็นประโยชน์ที่สำคัญของโคบอทผ่านการสาธิตแบบสดๆ เพื่ออธิบายให้เห็นภาพอย่างชัดเจนว่า ธุรกิจต่างๆ สามารถนำระบบอัตโนมัติไปใช้งานอย่างง่ายดายได้อย่างไร นอกจากนี้ยังจะมีการเปิดตัวโคบอท UR20 รุ่นใหม่ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกที่งาน Collaborate APAC 2022 ด้วย ซึ่งผู้เข้าร่วมงานจะได้สัมผัสกับประสบการณ์ตรงของโคบอท UR20 ในการขนถ่ายชิ้นงานที่มีน้ำหนักมากเข้าและออกจากระบบจับยึดของเครื่องจักร
“ในปีนี้เรามีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 200 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอำนาจในการตัดสินใจขององค์กรต่างๆ ผู้มีอิทธิพลในแวดวง ผู้ใช้งานโคบอท และพันธมิตรในระบบนิเวศยูอาร์พลัสของเรา ที่พร้อมเข้าร่วมการอภิปรายเกี่ยวกับระบบอัตโนมัติโดยเฉพาะ เรามีผู้เชี่ยวชาญที่จะมาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการผลิตที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบริษัทและสำรวจความเป็นไปได้ในการนำโคบอทไปใช้งาน โดยเราจะจัดแสดงโคบอท UR20 ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ ซึ่งเป็นโคบอท ยูอาร์ เจเนอเรชันถัดไปที่สามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้ถึง 20 กก. อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ผู้เข้าร่วมงานสามารถรับชมการสาธิตนวัตกรรมของเรา รวมถึงโคบอท ยูอาร์ 20 รุ่นล่าสุดแบบสดๆ ได้ภายในงาน” วิกลันด์ กล่าว
ผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ร่วมจัดแสดงภายในงาน
ภายในงานประชุม Collaborate APAC 2022 จะมีการนำเสนอส่วนประกอบต่างๆ, กริปเปอร์, ซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์เสริมด้านความปลอดภัยที่สามารถผสานรวมเข้ากับโคบอทของยูอาร์ ได้อย่างราบรื่น ผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่จัดแสดงมีดังนี้
- Baumer XF900 with VeriSens: เซ็นเซอร์ตรวจจับด้วยภาพพร้อมระบบออปติกแบบในตัวที่จะเข้ามาช่วยลดเวลาในการปรับเทียบด้วยมือและตาด้วยตนเอง ทำให้การปรับใช้งานระบบมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น
- Impaqt Robotics Pneumagiq PQ90: อินเทอร์เฟซสำหรับกริปเปอร์ระบบนิวเมติกอเนกประสงค์ที่สามารถสั่งงานกริปเปอร์สองชุดได้พร้อมกันทันทีเมื่อต่อเข้ากับระบบ
- Mech-Mind 3D vision: โซลูชันที่พร้อมรองรับการใช้งานที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงการหยิบถัง การทำงานร่วมกับเครื่องจักร การจัดวางพาเลท การประกอบชิ้นส่วน และอื่นๆ อีกมากมาย
- Mirka Airos: เครื่องขัดไฟฟ้าอัจฉริยะเครื่องแรกสำหรับหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ซึ่งได้รับการออกแบบทางวิศวกรรมให้สามารถประกอบได้ง่ายและตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมการผลิตได้อย่างหลากหลาย
- Nordbo Robotics Mimic Kit: แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ที่ใช้งานง่ายซึ่งจะทำหน้าที่เก็บบันทึกและถ่ายโอนการเคลื่อนไหวของมือคนไปให้กับหุ่นยนต์ผ่านการสาธิต
- ซอฟต์แวร์ OnRobot D:PLOY: แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์อัตโนมัติชุดแรกของอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้งานร่วมกับหุ่นยนต์เป็นหลัก ซึ่งซอฟต์แวร์นี้จะสร้างลอจิกของโปรแกรมทั้งหมดโดยอัตโนมัติ รวมถึงการแลกเปลี่ยนสัญญาณ การจัดการเหตุการณ์ การวางแผนเส้นทาง และการตรวจสอบแบบเรียลไทม์
- ชุดแอพพลิเคชั่น Schunk MTB : ชุดแอพพลิเคชั่น MTB จะช่วยให้การปรับใช้ระบบโหลดของเครื่องจักรแบบอัตโนมัติดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
- SICK Microscan3: เครื่องสแกนเลเซอร์เพื่อความปลอดภัยที่ทำหน้าที่ช่วยปกป้องดูแลการปฏิบัติงานใน ส่วนต่างๆ โดยมีให้เลือกทั้งแบบติดตั้งอยู่กับที่ไปจนถึงแบบพกพา รวมถึงในรุ่นพื้นฐานไปจนถึงรุ่นที่มีความซับซ้อนสูง
- SICK PLOC2D: ระบบเซ็นเซอร์ที่ใช้งานง่ายสำหรับติดตั้งกับฮาร์ดแวร์ประมวลผลภาพคุณภาพสูงสำหรับนำไปใช้ร่วมกับอัลกอริธึมการระบุตำแหน่งของหุ่นยนต์ว่าที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ
ในส่วนของการประชุม บรรดาผู้เชี่ยวชาญจากแวดวงอุตสาหกรรมจะมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ผ่านการนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจอย่างหลากหลาย ซึ่งจะดำเนินการเป็นภาษาอังกฤษและมีบริการแปลเป็นภาษาไทยให้ด้วยพร้อมกัน ผู้เข้าร่วมงานสามารถรับฟังเรื่องราวเกี่ยวกับการนำไปใช้งาน ซักถามข้อสงสัย และเตรียมพร้อมรับข้อมูลเชิงลึกอันเป็นประโยชน์ของโคบอทที่มีต่อธุรกิจได้โดยตรง
มาเธียส วิกลันด์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท จะเป็นผู้เปิดการประชุมพร้อมกล่าวเปิดงาน โดยภายในงานจะอัดแน่นไปด้วยเหล่าวิทยากรผู้มีประสบการณ์และหัวข้อการอภิปรายกลุ่มที่มีให้เลือกรับฟังอย่างมากมาย:
- ปาฐกถาพิเศษ: Future of Automation (อนาคตของระบบอัตโนมัติ) โดย “นีลส์ เฮนิช” (Niels Haenisch) พันธมิตรของเราจากบริษัท บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (Boston Consulting Group) ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายศูนย์นวัตกรรมดานการปฏิบัติงาน ประเทศสิงคโปร์
- Redefining Automation with UR20 (นิยามใหม่ของระบบอัตโนมัติด้วย UR20) โดย “ลาร์ส บัค” (Lars Bach) หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้านแขนโคบอท บริษัท ยูนิเวอร์ซัท โรบอท
- D:PLOY – Shaping the Future of Robotic Automation (D:PLOY – พลิกโฉมอนาคตของหุ่นยนต์อัตโนมัติ) โดย “เจมส์ เทย์เลอร์” (James Taylor) ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ออนโรบอท (OnRobot)
- Mirka® AIROS – The Perfect Robotic Sanding & Polishing Solution (Mirka® AIROS – โซลูชันการขัดกระดาษทรายและการขัดเงาด้วยระบบหุ่นยนต์ที่สมบูรณ์แบบ) โดย “มาโนช โซนี” (Manoj Soni) กรรมการผู้จัดการและผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท เมอร์กา (Mirka)
- Let’s MOVE: Combination of Clamping Technology (CT) and Gripping System (GS) portfolio (ก้าวไปข้างหน้า: การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีการหนีบยึด (Clamping Technology: (CT) และระบบจับยึด (Gripping System: GS) โดย “วินเซนต์ เตียว” (Vincent Teo) ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ชุ้งค์ (SCHUNK)
- Why is VeriSens® so unique for use with Universal Robots? (เหตุใด VeriSens® จึงมีความโดดเด่นอย่างมากเมื่อนำไปใช้ร่วมกับหุ่นยนต์ของยูนิเวอร์ซัล โรบอท) โดย “วิภาต ยอดวัลลภ” (Wipart Yodwanlop) ผู้จัดการฝ่ายขายประจำประเทศไทย บริษัท เบาเมอร์ (Baumer)
- การอภิปรายกลุ่ม: Is the Four-Day Manufacturing Week a Reality in Asia? (สัปดาห์การผลิตสี่วันเป็นจริงได้หรือไม่ในเอเชีย)
- พิธีกร: ดร. หยอง เช ฝาย (Yeong Che Fai) รองศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมาเลเซีย
- รายชื่อผู้ร่วมอภิปราย:
- วัชรพงษ์ โลกนิยม (Watcharaphong Lokniyom) กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฟิร์สเม็ค (FERSMEK)
- บาลาจี โคเนรู (Balaji Koneru) ผู้จัดการทั่วไป บริษัท นาลา โรโบติกส์ (Nala Robotics)
- ดร.ประพิณ อภินรเศรษฐ์ (Dr Prapin Abhinorasaeth) นายกสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์
- ลาร์ส บัค (Lars Bach) หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาแขนโคบอต บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท
- Sensor Technology – Forming the Robot Ecosystem to increase productivity (เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ – การสร้างระบบนิเวศของหุ่นยนต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต) โดย “โยฮัน เอง” (Jhohan Ng) รองหัวหน้าฝ่ายการจัดการผลิตภัณฑ์ตลาดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท ซิค พีทีอี จำกัด (SICK Pte Ltd)
- Unlock extra power of UR with Mimic (ปลดล็อกขุมพลังพิเศษของ UR ด้วย Mimic) โดย “ลิซา มารี แบกจ์” (Lisa Marie Bagge) ผู้อำนวยการฝ่ายขายสำหรับช่องทางจำหน่ายประจำภูมิภาคเนลักซ์ ยุโรปตะวันออก และเอเชียแปซิฟิก บริษัท นอร์ดโบ โรโบติกส์ (Nordbo Robotics)
- Empowering Robots with 3D Vision and AI (เสริมพลังหุ่นยนต์ด้วยเทคโนโลยี 3D Vision และ AI) โดย “บรู๊ค โซว” (Brook Zou) ผู้จัดการประจำประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย บริษัท เมค-มายด์ โรโบติกส์ (Mech-Mind Robotics)
- Accelerate Universal Robots Machine Tending with pneumagiQ (เดินหน้าผลักดันระบบหุ่นยนต์ร่วมทำงานกับเครื่องจักรของยูนิเวอร์ซัล โรบอทด้วย pneumagiQ) โดย “อนัจ บิฮานี่” (Anuj Bihani) ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (ซีอีโอ) บริษัท อิมแพค โรโบติกส์ (Impaqt Robotics)