ถึงแม้ว่าจะมีหลายคนที่พูดเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) แต่มีไม่กี่คนที่จะเข้าใจอย่างถูกต้องว่า AI คืออะไร และเราจะใช้งานมันได้อย่างไร ครั้งนี้เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติจาก ดร. อรทัย สังข์เพ็ชร รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และวิจัย มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล และ ศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้า เซ็นเตอร์ (ประเทศไทย), ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีบีเอ โรบอทิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด มาสนทนาถึงหัวข้อดังกล่าว
ศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา ได้อธิบายว่าความแตกต่างระหว่างปัญญาโดย “ธรรมชาติ” และ “ประดิษฐ์” คือ “เจตนา” โดยได้ยกตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาสหรัฐอเมริกาเมื่อนานมาแล้ว ซึ่งได้ตัดสินให้มะเขือเทศซึ่งตามหลักทางวิทยาศาสตร์แล้ว อยู่ในหมวดหมู่ของผลไม้ ให้ตกอยู่ในหมวดหมู่ของพืชผักเพื่อให้ลดภาษีนำเข้า ในการยกตัวอย่างนี้ เขาตั้งข้อสังเกตว่าข้อมูลพื้นฐานเหมือนกัน แต่เจตนาในการใช้ข้อมูลนั้นแตกต่างกัน และนั่นเป็นมุมมองที่ช่วยให้เราเข้าใจ AI นอกจากนี้ยังอธิบายถึงความแตกต่างระหว่าง Machine Learning (ML), Reinforced Learning (RL) และ Deep Learning (DL) ไปจนถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ทำให้ AI ก้าวหน้ามากขึ้น
ดร. อรทัย สังข์เพ็ชร รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และวิจัย มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล อธิบายว่าแนวคิด AI มีอยู่มานานหลายทศวรรษ แต่เพิ่งจะกลายมาเป็นจริงได้อย่างเหลือเชื่อด้วยพลังความสามารถในการคำนวณของเครื่องในปัจจุบัน ความท้าทายในการใช้งาน AI คือการทำให้มั่นใจได้ในคุณภาพของชุดข้อมูลและการสร้างชุดคำสั่งที่ไม่ลำเอียงสามารถตอบโจทย์กรณีศึกษาที่ทางปฏิบัติได้จริง
“ที่มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอลมีโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI ที่เร็วที่สุดในอาเซียน และในปี พ.ศ.2565 เราจะเริ่มเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิศวกรรม AI ด้วยเช่นกัน ในระหว่างการสนทนา ได้มีการอ้างถึงกรณีการใช้งาน AI ที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกรณีสำหรับองค์กรขนาดใหญ่หรือการตอบสนองความต้องการของบริษัทขนาดเล็ก “AI as a Service” จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น และจะนำไปประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น Blockchain เพื่อเพิ่มความโปร่งใส” ดร.อรทัย กล่าว
เราต่างเห็นด้วยกับประเด็นสำคัญที่วิทยากรทั้งสองท่านได้กล่าวมาถึงพลังของ AI ที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกอุตสาหกรรมหากมีข้อมูลที่ถูกต้องภายในระยะเวลาที่ต้องการ รวมทั้งการมีทรัพยากรบุคคลที่มีทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องที่พร้อมใช้งานด้วย ทางด้านรัฐบาลเองก็สามารถมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมกับเรื่องนี้โดยจัดหา ‘วัตถุดิบ’ ในรูปแบบของชุดข้อมูลแบบเปิด ในการดึงข้อมูลที่มีคุณค่าในเชิงลึกเพื่อให้ใช้ในทางที่สร้างสรรค์และเหนือความคาดหมาย
โดย วลีพร สายะสิต และ Peter Fischbach