ม.อ.วางใจให้โซลูชั่น ปั้นโมเดลต้นแบบ Smart City ในทุกมิติ พัฒนาสู่เมืองอนาคต (ตอน2)


Cisco

Smart Environment มอนิเตอร์สิ่งแวดล้อม คุณภาพน้ำ ฝุ่น รวมทั้งน้ำท่วม

อีกหนึ่งความเป็น Smart City Model in Campus ของ ม.อ.วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้แก่ Smart Environment เพื่อทำการมอนิเตอร์สิ่งแวดล้อม คุณภาพน้ำ ฝุ่น โดยติดตั้งระบบเฝ้าระวังคุณภาพของอากาศ เช่น PM 2.5 ตรวจวัดความชื้น ทิศทางลม และสภาพแวดล้อมทางน้ำ รวมทั้งได้ขยายพื้นที่ดำเนินการ โดยร่วมมือกับเทศบาลนครหาดใหญ่ติดตั้งระบบเฝ้าระวังลุ่มน้ำและแก้มลิงโดยรอบเมือง และภายในเทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อใช้เตือนภัยในฤดูฝน สามารถใช้วอร์รูมตรวจสอบปริมาณน้ำว่าอยู่ในระดับวิกฤตหรือไม่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผน บริหารจัดการน้ำต่อไป พร้อมกันนี้มีการจัดทำ Web Base เปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาดูได้ หากมีการแจ้งเตือนจะประสานไปยังเทศบาล เพื่อให้ชาวบ้านยกของเก็บที่สูง

นอกจากนี้มีการเก็บข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมย้อนหลัง เช่น PM 2.5 และ PM 10 เพื่อเก็บข้อมูลว่าอันตรายมากน้อยเพียงใด รวมทั้งดูค่าออกซิเจนในน้ำ อุณหภูมิความชื้น อากาศ ปริมาณน้ำฝน โดยเฉพาะที่จังหวัดภูเก็ตซึ่งเมื่อฝนตกจะมีปัญหาระบายน้ำไม่ทัน เนื่องจากโครงสร้างการวางตึกขวางทางน้ำ สามารถมอนิเตอร์ได้รายนาที ซึ่งตามปกติจะทำเป็นรายวัน

Smart Energy

ส่วน Smart Energy ประกอบด้วย Smart Lighting หลอดไฟ LED ที่มาพร้อมกับเซ็นเซอร์ตรวจจับกเคลื่อนไหว ตรวจวัดระดับความเข้มแสง และควบคุมอัตโนมัติ สามารถ dim ไฟลง เมื่อไม่มีการใช้งาน ทำให้ประหยัดไฟ รวมถึงทราบการใช้พลังงาน (Energy Usage Monitoring) การใช้งานรถโดยสารสาธารณะ EV และให้บริการจุดจอดรถ พร้อมที่ชาร์จแบบไฟฟ้า เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้งานรถพลังงานสะอาด

Smart Farm

จัดทำเกษตรแบบประณีต เพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตร โดยใช้เทคโนโลยี IoT

คณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม .มอ. ร่วมกับสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล สำนักวิจัยและพัฒนา และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. ได้จัดทำ Smart Farm ฟาร์มต้นแบบ ทำการเกษตรแบบประณีต ในโครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาระบบการเกษตรแม่นยำ ซึ่งสามารถเพาะเลี้ยงผลไม้ ผลผลิตการเกษตรได้อย่างแม่นยำ (Precision Agiculture) โดยเลือกปลูกผลไม้ที่มีราคาสูง เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตร เช่น เมลอน สามารถรองรับการสั่งตัดความหวาน และขนาดของผล ทราบระยะเวลาของการเลี้ยง การตัดผลผลิต และขนส่งให้พอดีกับความอร่อยที่ลูกค้าต้องการ

ด้วยการทำงานที่เป็นระบบอัตโนมัติ ใช้เซ็นเซอร์ตรวจวัดและควบคุมปัจจัยการเจริญเติบโต รวมทั้งภูมิสภาพภายในโรงเรือน ซึ่งทำงานผ่านชุด Control แบบหน้าจอสัมผัสหรือคอมพิวเตอร์ และสามารถใช้เทคโนโลยี IoT (Internet of Things) เพื่อการติดตามและควบคุมจากระยะไกล โดยผสานความรู้ปราชญ์ชาวบ้านในการเพาะปลูก สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิ ตลอดจนความชื้น ปัจจุบัน ขยายผลไปยังแปลงสาธิตของคณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่คลองหอยโข่ง เพื่อเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับประชาชน และสามารถขยายผลปลูกผลไม้ต่าง ๆ ที่มีมูลค่าสูง เช่น ทุเรียนได้ อย่างไรก็ตามต้องอาศัยความรู้ของเกษตรกร เพื่อศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ที่จะทำการปลูกอีกครั้ง

Smart People ชูเป็นเมืองแห่งการศึกษาแหล่งสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ

ปิดท้ายด้วย Smart People ม.อ.พร้อมเป็นเมืองแห่งการศึกษาและแหล่งสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยม.อ. กำลังดำเนินการจัดสร้าง Learning Space เพื่อรวบรวมเครื่องมือเรียนรู้ที่ทันสมัย ได้แก่ 3D Printer, 3D Scanner, Robot และแหล่งเรียนรู้ระดับโลกร่วมกับผู้นำด้านเทคโนโลยีและเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระดับโลก เช่น Cisco Academy, DevNet เป็นต้น

ทั้งนี้โครงสร้างพื้นฐานที่เป็นข้อมูล ทาง ม.อ.ร่วมกับซิสโก้ในการควบคุมระบบ Smart City ทั้งหมดในแคมปัส ซึ่งใช้เงินลงทุนกว่า 30 ล้านบาท โดยโซลูชั่นของซิสโก้ ไม่ว่าจะเป็น เน็ตเวิร์กหลัก (Core Network) แพลตฟอร์ม IoT (Internet of Things) ที่ใช้เทคโนโลยีซิสโก้เป็นฐาน ทำให้การเชื่อมต่อแบบ End-to-End มีความปลอดภัย และความสามารถในการบริหารจัดการที่ดีขึ้น เป็นรากฐานของมหาวิทยาลัยในการทำ Digital Transformation เพื่อสร้างโมเดลเมืองอัจฉริยะที่เป็นต้นแบบการพัฒนาเมืองแห่งอนาคตในทุกมิติ สำหรับเฟส 2 ในเดือนกันยายนนี้ ม.อ.จะร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ขยาย Capacity ในเมืองปทุมธานี และขอนแก่น

Startup

กลุ่ม Startup ม.อ.พัฒนาแพลตฟอร์ม Research Market ตลาดงานวิจัยแห่งแรกของไทย

นอกจากนี้ ยังมี Research Market Platform ร่วมกับ Startup ในพื้นที่ในการสร้าง Platform Online ที่สามารถช่วยให้เกิดการ Matching ระหว่างนักประดิษฐ์กับเอกชนหรือภาคอุตสาหกรรมที่แสวงหานวัตกรรมในประเทศ โดยกลุ่ม Startup ม.อ. ได้พัฒนาแพลตฟอร์ม Research Market หรือตลาดงานวิจัยแห่งแรกของไทย เพื่อเป็นสื่อกลางให้บริษัทที่สนใจงานวิจัย สามารถค้นหางานวิจัยที่ต้องการได้ แพลตฟอร์มดังกล่าวยังมีระบบหลังบ้าน โดยมีตัวกลางของหน่วยงานคอยตรวจสอบว่าผู้ซื้อและผู้ขายพูดคุยซื้องานวิจัยชิ้นใดกัน โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะนำแพลตฟอร์มไปใช้

ในอนาคตอาจหานักวิจัยจากต่างประเทศ มาร่วมด้วย อาทิ นักวิจัยที่ ม.อ.มีเครือข่ายร่วมมือกัน เช่น ออสเตรเลีย และอังกฤษ สำหรับรายได้ของผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม คือส่วนแบ่ง เมื่อมีการซื้อขายงานวิจัยเกิดขึ้น ทั้งนี้ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มจะเตรียมนำข้อมูลงานวิจัยที่ขายได้มาลง เพื่อให้เกิดการซื้อขายมากยิ่งขึ้น

“โจทย์ที่ ม.อ. ต้องการต่อยอดแพลตฟอร์มในแง่บริการใหม่ ๆ ในการสร้างนวัตกรรม คือทำอย่างไรให้เด็กรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่า สามารถใช้ประโยชน์จากเมืองอัจฉริยะ เพื่อทำให้เมืองน่าอยู่ ทั้งนี้ เมืองอัจฉริยะจะต้องมี Self Funding ด้วย เพื่อความยั่งยืน” ผศ. ดร.วรรณรัช กล่าว

วัตสัน ถิรภัทรพงศ์

ซิสโก้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ Smart City ในหลายประเทศมั่นใจตอบโจทย์สร้าง Smart City ให้ ม.อ.ทุกมิติ

วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยของซิสโก้ กล่าวว่า การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และ Digital Transformation ถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการยกระดับเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) บนแนวคิด Smart + Connected City อย่างไรก็ตาม ต้องมีการจัดลำดับว่าพื้นที่ส่วนไหนต้องเร่งพัฒนาด้านใดเพื่อสอดคล้องกับเอกลักษณ์ วิถีพื้นถิ่น และแผนกลยุทธ์การพัฒนาของเมืองนั้น ๆ ทั้งนี้ ซิสโก้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในหลายๆ ประเทศ เรามีความเชื่อมั่นในการนำเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานหรือ Core Network และดาต้าเซ็นเตอร์ที่ออกแบบเพื่อการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาต่อยอด Smart Solution และแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ พร้อมระบบรักษาความปลอดภัยแบบ End-to-End มาช่วยในการตอบโจทย์การสร้าง Smart City อย่างสมบูรณ์ เช่น นำข้อมูลจำนวนมหาศาลมาประมวลผล เพื่อคาดการณ์อนาคต ทำให้เมืองมีสภาพที่ดีและน่าอยู่ขึ้น ทั้งน้ำ ไฟและสิ่งแวดล้อม

ที่สำคัญ Smart City จะขับเคลื่อนอย่างรวดเร็วไม่ได้ถ้าขาดบุคลากรที่เข้าใจเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซิสโก้มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการเพิ่มพูนทักษะความเชี่ยวชาญให้แก่บุคลากรของ ม.อ.อย่างต่อเนื่องภายใต้โครงการ Cisco Network Academy ที่ให้ความรู้เบื้องต้นทางด้าน IoT และ DevNet ซึ่งให้ความรู้เฉพาะทางด้าน Network จากนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถทางด้าน Network ด้วยเทคโนโลยีของซิสโก้ โดยซิสโก้ได้จัดการอบรม แบ่งปันความรู้และทักษะให้กับบุคลากรของ ม.อ.เพื่อรองรับความต้องการของโลกดิจิทัลในอนาคต

“ความร่วมมือครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Co-Innovation ของซิสโก้ในการร่วมพัฒนาโซลูชั่นที่มีความหมายและสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ร่วมกับภาครัฐและเอกชน และเราภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งใน Eco System ของนวัตกรรมและการพัฒนาในครั้งนี้” วัตสัน กล่าว

ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ

รัฐวางใจให้ ม.อ.เร่งพัฒนาเมืองอัจฉริยะทั่วประเทศทั้งกลุ่มเมืองเดิม – กลุ่มเมืองใหม่ให้ทันสมัย 7 ด้าน

ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) กล่าวว่า ม.อ.ได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญตั้งแต่แรกเมื่อครั้งภูเก็ตเป็น Smart City ด้วยเหตุนี้รัฐบาลเห็นถึงศักยภาพ และฝีมือ จึงมอบหมายให้ม.อ.เป็นต้นแบบการทำ Smart City โดยมีซิสโก้เป็นพันธมิตรสำคัญในการช่วยผลักดันและร่วมพัฒนาเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นรากฐานและเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อพัฒนาต่อยอดการสร้าง Smart Solution ต่าง ๆ โดยหนึ่งในวาระเร่งด่วนคือการพัฒนาเมืองอัจฉริยะไปทั่วประเทศทั้งกลุ่มเมืองเดิมที่ต้องปรับปรุงให้น่าอยู่และอัจฉริยะมากขึ้น และกลุ่มเมืองใหม่ที่จะต้องออกแบบให้สมบูรณ์ ทันสมัยด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ ตามลักษณะของเมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน ที่ประกอบด้วย 1) สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) 2) เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) 3) ขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) 4) พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) 5) พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) 6) การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) และ 7) การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)
จากการที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) รับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับ 14 จังหวัดภาคใต้ครบวงจร ภายใต้ งบประมาณ 130 ล้านบาท เพื่อให้แต่ละเมืองได้เห็นโมเดลรูปแบบการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเมืองและนำไปปรับใช้กับพื้นที่เขตความรับผิดชอบของตน ความร่วมมือระหว่างซิสโก้และ ม.อ. นับเป็นการตอบโจทย์การสร้างโมเดล Smart City ให้เป็นต้นแบบการพัฒนาเมืองแห่งอนาคตที่มีความสมดุลในทุกมิติ

“การเป็น Smart City คือการใช้ชีวิตอย่างสมดุล เน้นสิ่งแวดล้อม โดยสร้างคนมาพร้อม ๆ กันทั้งตัว ใจ กาย และวิญญาณ เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มี 5 วิทยาเขต ครอบคลุมภาคใต้ มีอาจารย์และนักศึกษา 20,000 คน เป็นชุมชนที่ใช้เทคโนโลยี ทะเบียนรถ Lighting เริ่มทดสอบแล้วขยายผลการใช้งานไปยังเทศบาลเมืองหาดใหญ่แล้ว เพื่อให้เป็น Smart City อย่างแท้จริง” ผศ. ดร.นิวัติ กล่าว

วีรนันทน์ เพ็งจันทร์
วีรนันทน์ เพ็งจันทร์ (กลาง) ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา

เชื่อมั่นม.อ.เป็นโมเดล Smart City ให้เมืองต่าง ๆ ในประเทศได้

วีรนันทน์ เพ็งจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ถ้าจะพัฒนา Smart City ให้คนส่วนใหญ่เข้าใจ ด้วยศักยภาพของม.อ.สามารถทำได้ เนื่องจากมีขอบเขต ประชากร ซึ่งเรามุ่งมั่นจะที่จะให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต หาดใหญ่เป็น Smart City ต้นแบบ โดยการวางผัง พัฒนาคน เช่น ด้านสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นรถไฟฟ้า (EV ) หรือให้นักศึกษาขี่จักรยานแทนมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น

“เรามีเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมที่ดี มีประชาชนที่ Smart ซึ่งม.อ.ตอบโจทย์ตรงนี้ หลายคนกลัวแค่ซื้อเทคโนโลยี แต่ไม่ได้พัฒนาคน ใครอยากให้เมือง Smartให้มาดูที่ ม.อ.เพราะ ม.อ.ถือเป็นสมองของสงขลา และคนสงขลาต้องการเห็น ม.อ.เป็นเมืองมหาวิทยาลัยที่ดีที่เป็นต้นแบบของเมืองอัจฉริยะ” วีรนันทน์ กล่าว


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save